สอวน.ดาราศาสตร์ (TAO) และ สอวน.วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ (IESO/TESO) คืออะไร แตกต่างกันอย่างไร

การแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระดับชาติ เป็นการแข่งขันโอลิมปิกวิชาการในระดับประเทศที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปีเพื่อคัดเลือกผู้แทนประเทศไทยไปเข้าร่วมการแข่งขันในรายการโอลิมปิกระหว่างประเทศ โดยการจะได้เป็นผู้แทนประเทศจะต้องผ่านทั้งค่าย สอวน. และค่าย สสวท.

สอวน.ดาราศาสตร์ (TAO)

แบ่งออกเป็น 2 ระดับ คือ

  • ⭐️ สอวน.ดาราศาสตร์ ม.ต้น (นร.จะต้องมีอายุไม่เกิน 15 ปีในวันที่ 1 มกราคมของปีที่มีการแข่งขันแต่ไม่น้อยกว่า 14 ปีบริบูรณ์ในวันที่ 31 ธันวาคมของปีที่มีการแข่งขัน)
  • ⭐️ สอวน.ดาราศาสตร์ ม.ปลาย (นร.จะต้องกำลังศึกษาไม่เกินระดับมัธยมศึกษาปีที่ 5 ในปีการศึกษาที่ จัดการแข่งขัน มีอายุไม่เกิน 19 ปีบริบูรณ์ในปีที่จัดการแข่งขัน)

โดย สอวน.ดาราศาสตร์ มีศูนย์สอบทั้งหมด 12 ศูนย์ ในส่วนของข้อสอบ แต่ละศูนย์จะดำเนินการออกข้อสอบเอง ดังนั้นข้อสอบจะแตกต่างกันไปในแต่ละศูนย์ ขึ้นอยู่กับว่าศูนย์นั้นโดดเด่นด้านไหน บางศูนย์จะมีการแบ่งพาร์ทข้อสอบ เป็นคณิตศาสตร์ ฟิสิกส์ เคมี ดาราศาสตร์ บางศูนย์เป็นดาราศาสตร์อย่างเดียว ดังนั้นผู้ที่จะสอบต้องไปศึกษาเพิ่มเติมว่าศูนย์ที่ตนเองจะลงสมัครแนวข้อสอบหรือการแบ่งส่วนข้อสอบเป็นอย่างไร
👩‍🚀 รายชื่อศูนย์สอบ 👩‍🚀
ข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ สอวน.

สอวน.วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ (TESO/IESO)

มีรายการเดียว คือ

  • ⭐️ สอวน.วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ (รับสมัคร นร. ม. 3 – 5)

โดย สอวน.วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ (TESO/IESO) เป็นสหวิชาที่รวมเอาวิชา ธรณีวิทยา อุตุนิยมวิทยา และดาราศาสตร์ เข้าไว้ด้วยกัน ดังนั้นข้อสอบ สอวน.วิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ จึงแบ่งออกเป็น 3 พาร์ท ในการสอบรอบแรก ศูนย์ส่วนใหญ์จะมีข้อสอบแค่ 2 พาร์ท คือ ธรณีวิทยา และอุตุนิยมวิทยา โดยเน้นธรณีวิทยาเป็นหลัก ส่วนพาร์ทดาราศาสตร์จะไปเจอในค่ายแรก
ศูนย์สอบมีทั้งหมด 7 ศูนย์ แต่ละศูนย์จะดำเนินการออกข้อสอบเอง ดังนั้นข้อสอบจะแตกต่างกันไปในแต่ละศูนย์ ขึ้นอยู่กับว่าศูนย์นั้นโดดเด่นด้านไหน (เหมือน TAO)
👩‍🚀 รายชื่อศูนย์สอบ 👩‍🚀
ข้อมูลเพิ่มเติมบนเว็บไซต์ สอวน.

สรุป

📌หากน้องๆ หรือผู้ปกครองที่วางแผนจะเก็บพอร์ตตั้งแต่ ม.ต้น แนะนำให้ลงสอบ สอวน.ดาราศาสตร์ ตั้งแต่ ม.1 – 2 จากนั้นค่อยเก็บธรณีวิทยา และอุตุนิยมวิทยา เพื่อไปลงสอบ สอวน.วิทยาโลกและอวกาศ ตอน ม.3 จะทำให้มีโอกาสในการเก็บพอร์ตค่อนข้างครบถ้วน

📌 ข้อมูลเพิ่มเติม บนเว็บไซต์ของมูลนิธิ สอวน.

Loading