หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

หินไรโอไลต์ (Rhyolite) เป็นหินที่ถูกมนุษย์ใช้ประโยชน์มายาวนาน และเป็นหินที่กำเนิดจากการปะทุของภูเขาไฟ มีลักษณะที่แตกต่างจากหินแกรนิตชัดเจน แต่กลับมีองค์ประกอบแร่เหมือนกัน จึงน่าศึกษาว่ามีความเป็นไปอย่างไร

หินไรโอไลต์มีลักษณะอย่างไร?

หินไรโอไลต์ เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) ประเภทหินเฟลสิค (felsic rock) มีเนื้อละเอียดแต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีอ่อน เช่น สีขาว สีเทาขาว ชมพูซีด บางครั้งอาจจะพบแร่ควอตซ์ใส อยู่ในเนื้อหิน

หินไรโอไลต์
ตัวอย่างหินไรโอไลต์
Jpr46, Public domain, via Wikimedia Commons
หินไรโอไลต์
ตัวอย่างหินไรโอไลต์สีชมพู
Michael C. Rygel, CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

หินไรโอไลต์ เป็นหินอัคนีพุ ซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็กมีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต ซึ่งเกิดจากหินหนืดที่มีองค์ประกอบซิลิกาสูง ซึ่งปะทุออกมาจากปล่องภูเขาไฟแล้วเย็นลงอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปจะมีสีอ่อนเนื่องจากมีแร่ธาตุมาฟิค (mafic) ต่ำ และโดยทั่วไปจะมีเนื้อละเอียดมาก (aphanitic) หรือเป็นแก้ว (glassy)

หากสนใจประเภทการปะทุของภูเขาไฟ อ่านต่อได้…ที่นี่

องค์ประกอบของ หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

หินไรโอไลต์ บน แผนภาพ QAPF
แผนภาพการจำแนกประเภทหิน QAPF
Kent G. Budge, CC0, via Wikimedia Commons

หินอัคนีพุจะถูกจัดเป็นหินไรโอไลต์เมื่อมีสัดส่วนของควอตซ์ 20% ถึง 60% โดยปริมาตรของ ควอตซ์ อัลคาไลเฟลด์สปาร์ และเพลจิโอเคลส รวมกัน ตามแผนภาพการจำแนกหิน QAPF และมีอัลคาไลเฟลด์สปาร์ 35% ถึง 90% ของปริมาณเฟลด์สปาร์ทั้งหมด และอาจมีแร่ไบโอไทต์ และฮอร์นเบลนด์ได้ด้วย

หินไรโอไลต์ ตำแหน่ง แผนภาพ TAS
แผนภาพการจำแนกประเภทหิน TAS
Kent G. Budge, CC0, via Wikimedia Commons

หินไรโอไลต์ ไม่มีเฟลด์สปาทอยด์ ทำให้ไรโอไลต์ มีสัดส่วนของแร่เทียบเท่าหินแกรนิต อย่างไรก็ตาม IUGS แนะนำให้จำแนกหินภูเขาไฟ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบแร่เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ หินภูเขาไฟมักจะมีลักษณะเป็นเนื้อแก้วหรือมีเนื้อละเอียดมากจนไม่สามารถระบุแร่ธาตุได้ และควรใช้การจำแนกทางเคมีตาม เพื่อหาปริมาณของ ซิลิกาและโลหะอัลคาไลออกไซด์ (K2O บวก Na2O) หินไรโอไลต์มีซิลิกาและออกไซด์ของโลหะอัลคาไลอยู่มาก ทำให้หินไรโอไลต์ถูกจัดอยู่ในช่อง R ของแผนภาพการจำแนกหินแบบ TAS บางครั้งมีเฟลด์สปาร์อัลคาไล (alkali feldspar) อยู่ในรูปของฟีโนคริสต์ (phenocrysts) Plagioclase มักมีโซเดียมสูง (oligoclase หรือ andesine)

กระบวนการเกิด หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

เกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วเมื่อหินหนืดขึ้นมาอยู่บนผิวโลก

การใช้งาน และประโยชน์ของหินไรโอไลต์

ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทำถนนหินโรยทางรถไฟ ทำครก หินประดับสวน และทำเครื่องประดับจากหิน

แหล่งที่พบหินไรโอไลต์ในประเทศไทย

จังหวัดสระบุรี ลพบุรี เพชรบุรี และจังหวัดแพร่

Loading