หินแอนดีไซต์ (Andesite)

หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุที่มีเนื้อละเอียด และเป็นส่วนหนึ่งของวัฎจักรหิน และถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มานาน ข้อมูลของหินแอนดีไซต์ (Andesite) มีตามรายละเอียดด้านล่าง

ลักษณะหินแอนดีไซต์

หินแอนดีไซต์ (Andesite) ประเภทหินอินเตอร์มีเดียต (Intermediate rock) เป็นหินที่เนื้อแน่นทึบ เป็นเนื้อละเอียด (aphanitic) ถึงปานกลาง มีสีไม่เข้มไม่อ่อน มีดัชนีสี (color index) น้อยกว่า 35 เป็นไปได้หลายสีเช่น ม่วง เขียว เทาดำ แร่หลักเป็นแร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้มอย่างแอมฟิโบล (Amphibole) ส่วนแร่รอง เช่น ไพรอกซีน (pyroxene) ไบโอไทต์ (biotite) เป็นต้น

หินแอนดีไซต์ (Andesite) อาจเป็นเนื้อดอก (porphyritic) หรือมีผลึกสองขนาด ซึ่งมีผลึกขนาดใหญ่ (phenocrysts) ของแพลจิโอเคลส ที่เกิดขึ้นก่อนหินหนืดจะปะทุขึ้นสู่ผิวโลก ฝังอยู่ในเมทริกซ์เนื้อละเอียดกว่า พบผลึกขนาดใหญ่ของไพรอกซีน (pyroxene) หรือฮอร์นเบลนด์ (hornblende) ได้ทั่วไป แร่ธาตุพวกนี้มีจุดหลอมเหลวสูงที่สุดของแร่ธาตุทั่วไปที่สามารถตกผลึกจากการหลอมเหลว ดังนั้นจึงเป็นกลุ่มแร่กลุ่มแรกที่ตกผลึก

การจำแนกประเภทของแอนดีไซต์สามารถแบ่งกลุ่มย่อยได้จากปริมาณของผลึกขนาดใหญ่ (phenocrysts) เช่น ถ้าฮอร์นเบลนด์เป็นแร่หลักในฟีโนคริสต์ หินนี้จะถูกจัดเป็น ฮอร์นเบลนด์แอนดีไซต์ (hornblende andesite)

องค์ประกอบของหินแอนดีไซต์

แผนภาพการจำแนกประเภทหิน QAPF
Kent G. Budge, CC0, via Wikimedia Commons

หินแอนดีไซต์ (Andesite) มีซิลิกาอยู่ปานกลางและมีโลหะอัลคาไล (alkali metal) เล็กน้อย เป็นแร่ควอทซ์น้อยกว่า 20% และเฟลด์สปาทอยด์ (feldspathoid) น้อยกว่า 10% โดยปริมาตร โดยอย่างน้อย 65% ของเฟลด์สปาร์เป็นแพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ (plagioclase feldspar)
ด้วยเหตุนี้ทำให้หินแอนดีไซต์ (Andesite) อยู่ในช่องของ บะซอลต์/แอนดีไซต์ในไดอะแกรม QAPF

หินแอนดีไซต์ (Andesite) แตกต่างจากหินบะซอลต์ชัดเจนจากปริมาณซิลิกาที่มีมากกว่า 52% อย่างไรก็ตามการระบุองค์ประกอบแร่ของหินภูเขาไฟอาจจะเป็นเรื่องยากเพราะมีเนื้อละเอียดมาก ในทางเคมีหินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินภูเขาไฟที่มีปริมาณซิลิกา 57% ถึง 63% และไม่เกิน 6% ออกไซด์ของโลหะอัลคาไล ทำให้หินแอนดีไซต์ (Andesite) ถูกจัดอยู่ในในช่อง O2 ของการจำแนกแบบ TAS

แผนภาพการจำแนกประเภทหิน TAS
Kent G. Budge, CC0, via Wikimedia Commons

หินบะซอลติกแอนดีไซต์ (basaltic andesite) ที่มีปริมาณซิลิกา 52% ถึง 57% เป็นตัวแทนจาก O1 ของการแบ่งกลุ่มแบบ TAS แต่ไม่ได้ถูกแบ่งประเภทหินชัดเจนในการแบ่งประเภทแบบ QAPF

กระบวนการเกิดหินแอนดีไซต์

หินแอนดีไซต์เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดอย่างรวดเร็วเมื่อหินหนืดขึ้นมาอยู่บนผิวโลก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้แมกมาขึ้นสู่ผิวโลกคือ การเกิดการปะทุของภูเขาไฟ(volcano eruption) จัดเป็นกลุ่ม หินอัคนีพุ (Extrusive Igneous Rock)

ภาพการปะทุของภูเขาไฟพินาตูโบ (Pinatubo) ที่ฟิลิปปินส์เมื่อ วันที่ 12 มิถุนายน 1991
Dave Harlow, United States Geological Survey, Public domain, via Wikimedia Commons

การใช้งาน และประโยชน์ของหินแอนดีไซต์

ใช้ในงานก่อสร้าง ทำถนน ทางรถไฟ ทำหินเกล็ด เครื่องประดับ ครกหิน

แหล่งที่พบในประเทศไทย

ตามขอบที่ราบสูงโคราช เช่น จังหวัดนครราชสีมา สระบุรี เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครนายก แพร่ และจังหวัดลำปาง ทางด้านทิศตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดตราด

Loading