ภูเขาไฟระเบิด ภูเขาไฟปะทุมีกี่แบบ?

ภูเขาไฟปะทุได้หลากหลายรูปแบบ กระบวนการเกิดปะทุมีลักษณะที่แตกต่างกัน และช่วยให้เข้าใจกระบวนการเกิดภูเขาไฟปะทุ หรือ ธรณีพิบัติภัยที่เกี่ยวข้องกับการปะทุของภูเขาไฟได้ดีขึ้นด้วย

ถ้าหากแบ่งประเภทการปะทุตามลักษณะกิจกรรมการปะทุจะมี 2 แบบ คือ “การปะทุแบบระเบิด (Explosive Eruption)” และ “การปะทุแบบเอ่อล้น (Effusive Eruption)” ซึ่งการปะทุ หรือการเกิดภูเขาไฟระเบิด อาจจะเกิดอย่างใดอย่างหนึ่ง หรือทั้ง สองอย่างได้ ขึ้นกับโครงสร้างทางธรณี

การปะทุแบบแมกมาทิค (Magmatic Eruption)

การปะทุแบบแมกมาทิค (Magmatic Eruption) เป็นประเภทการปะทุที่สังเกตได้ชัดเจนที่สุด การปะทุแบบนี้เกิดจากปลดปล่อยความดันของก๊าซภายในหินหนืด (magma) ขับดันให้เกิดการปะทุออกมา การปะทุแบบนี้มีความรุนแรงตั้งแต่ลาวาพุเล็กๆ ในฮาวายไปจนถึงการปะทุอย่างรุนแรงแบบอัลตราพลิเนียนที่พุ่งสูงกว่า 30 กม. ซึ่งใหญ่กว่าการระเบิดของภูเขาไฟวิสุเวียสที่ฝังเมืองปอมเปอี

การปะทุแบบฮาวาย (Hawaiian Eruption)

การปะทุแบบฮาวาย เป็นรูปแบบการปะทุของภูเขาไฟประเภทหนึ่งที่ตั้งชื่อตามภูเขาไฟในฮาวาย การปะทุของภูเขาไฟแบบฮาวายเป็นประเภทการปะทุภูเขาไฟที่สงบที่สุด มีลักษณะเฉพาะที่เกิดการปะทุจากการเอ่อล้นของลาวาประเภทหินบะซอลต์ที่เหลวมากและมีปริมาณก๊าซต่ำ ปริมาณของลาวา เศษวัสดุ หรือแก๊ส ที่ปล่อยออกมาจากการปะทุของฮาวายมีไม่ถึงครึ่งเที่ยบกับการปะทุแบบอื่นๆ การไหลของลาวาในปริมาณไม่มากแต่มีความต่อเนื่องทำให้เกิดการพอกพูนในพื้นที่กว้างทำให้เกิดเป็น ภูเขาไฟรูปโล่ (shield volcano) การปะทุไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่ปล่องกลางที่ยอดหลักเหมือนกับภูเขาไฟประเภทอื่นๆ และมักเกิดขึ้นที่ช่องรอบ ๆ ยอดเขาและจากรอยแตกที่แผ่ออกมาจากปล่องกลางภูเขาไฟ

ปะทุ แนวรอยแตก fissure vent volcanic
ภาพตัวอย่างการปะทุตามแนวรอยแตก
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

การปะทุแบบฮาวายมักเริ่มต้นจากการปะทุตามแนวแตก(fissure vent) อาจถูกเรียกว่า”ม่านไฟ (curtain of fire)” แล้วม่านไฟ จะเริ่มหายไปเมื่อลาวาเริ่มปะทุที่รอยแตก หลักๆ 2 – 3 จุดรุนแรงขึ้น การปะทุของปล่องหลักมักอยู่ในรูปแบบของลาวาพุขนาดใหญ่ (มีทั้งต่อเนื่องและประปราย) ซึ่งสามารถพ่นลาวาสูงถึงหลายร้อยเมตรหรือมากกว่านั้น เศษวัสดุจากลาวาพุมักจะเย็นลงกลางอากาศก่อนตกถึงพื้น ส่งผลให้เกิดการสะสมของเศษขี้เถ้าสกอเรีย อย่างไรก็ตาม เมื่ออากาศร้อนขึ้นและ มีสิ่งที่ภูเขาไฟพ่นออกมาหนาแน่นขึ้น พวกเศษวัสดุจากลาวาพุจะไม่เย็นลงเร็วพอเนื่องจากความร้อนทำให้สะสมเศษวัสดุมากขึ้นจะเกิดเป็นกรวย ถ้าอัตราการปะทุมากพอ อาจทำให้เกิดธารลาวาที่เกิดจากลาวาที่กระจายออกมาจากปากปล่อง

ภูเขาไฟ ระเบิด แบบ ฮาวาย การปะทุ แบบฮาวาย
ภาพการปะทุของภูเขาไฟ Puʻu ʻŌʻō ในปี 1983
ขอบคุณภาพจาก
G.E. Ulrich, USGS. , Public domain, via Wikimedia Commons

การปะทุแบบฮาวายมักกินระยะเวลานานมาก เช่น ภูเขาไฟ Puʻu ʻŌʻō เป็นภูเขาไฟรูปกรวยบนฝั่งตะวันออกของเทือกเขา Kilauea ที่ปะทุต่อเนื่องมากกว่า 35 ปี ลักษณะเด่นของภูเขาไฟในฮาวายอีกประการหนึ่งคือการก่อตัวของธารลาวาที่ยังร้อนระอุอยู่ และมีแอ่งลาวาที่ยังเหลวอยู่โดยมีหินที่เย็นตัวเป็นเปลือกบางๆ อยู่ด้านบน

ภูเขาไฟ การ ปะทุ ระเบิด ฮาวาย Hawaiian Hawai eruption
แผนภาพของ Hawaiian eruption. (key: 1. Ash plume 2. Lava fountain 3. Crater 4. Lava lake 5. Fumaroles 6. Lava flow 7. Layers of lava and ash 8. Stratum 9. Sill 10. Magma conduit 11. Magma chamber 12. DikeClick for larger version.
ขอบคุณภาพจาก
© Sémhur / Wikimedia Commons

การปะทุแบบสตรอมโบลี (Strombolian Eruption)

ภูเขาไฟ การ ปะทุ ระเบิด สตรอมโบลี สตรอมโบเลียน Stromboli Volcano
แผนภาพของ Strombolian eruption.
(key: 1. Ash plume 2. Lapilli 3. Volcanic ash rain 4. Lava fountain 5. Volcanic bomb 6. Lava flow 7. Layers of lava and ash 8. Stratum 9. Dike 10. Magma conduit 11. Magma chamber 12. Sill)
ขอบคุณภาพจาก
© Sémhur / Wikimedia Commons

การปะทุแบบสตรอมโบลี หรือการปะทุแบบสตรอมโบเลียน เป็นประเภทของการปะทุที่ตั้งชื่อตามภูเขาไฟสตรอมโบลี การปะทุแบบสตรอมโบเลียนเกิดจากการระเบิดของฟองก๊าซภายในหินหนืด (magma) ฟองก๊าซเหล่านี้อยู่ในแมกมาสะสมและรวมตัวกันเป็นฟองขนาดใหญ่ แล้วเมื่อมีขนาดใหญ่พอที่จะทะลุผ่านชั้นลาวา และขึ้นสู่พื้นผิว ความดันที่เปลี่ยนไปทำให้ฟองสบู่แตกพร้อมระเบิดเสียงดัง และพ่นแมกมาขึ้นไปในอากาศในลักษณะที่คล้ายกับฟองสบู่แตก เนื่องจากความดันก๊าซสูง ทำให้เกิดการระเบิดเป็นครั้งๆ ในทุกสองสามนาที

ภูเขาไฟ ระเบิด ปะทุ สตรอมโบเลียน สตรอมโบลี Stromboli
ภาพตัวอย่างของการปะทุแบบสตรอมโบเลียนของภูเขาไฟ Stromboli
ขอบคุณภาพจาก Wikipedia

คำว่า “สตรอมโบเลียน” ถูกใช้ทั่วไป เพื่ออธิบายลักษณะการปะทุของภูเขาไฟ ตั้งแต่การระเบิดของภูเขาไฟขนาดเล็กไปจนถึงการปะทุขนาดใหญ่ โดยที่ลักษณะการปะทุแบบสตรอมโบเลียนมีลักษณะเฉพาะ คือ การปะทุของลาวาจะเกิดในช่วงเวลาสั้นๆ และมีการระเบิดได้โดยมีความหนืดปานกลาง ซึ่งมักจะมีลาวาพุ่งสูงขึ้นไปในอากาศ
กลุ่มควันอาจจะสูงได้หลายร้อยเมตร

ลาวาที่เกิดจากการระเบิดของสตรอมโบเลียนเป็นลาวาบะซอลต์ที่มีความหนืด และมักทำให้เกิดหินสคอเรีย (scoria) จากการที่ปะทุที่ไม่สร้างความเสียหายกับปากปล่องหลัก ทำให้การปะทุของสตรอมโบเลียน อาจจะสามารถเกิดขึ้นเป็นช่วงๆ ในระยะเวลาหลายพันปี และถูกจัดว่าเป็นหนึ่งในประเภทการปะทุที่อันตรายน้อย

ภูเขาไฟ การ ปะทุ ระเบิด เกาะ สตรอมโบลี สตรอมโบเลียน Stromboli Volcano
ภาพภูเขาไฟสตรอมโบลี (Stromboli Volcano) ซึ่งอยู่บนเกาะ Stromboli ถ่ายในปี 2004
ขอบคุณภาพจาก Steven W. Dengler, CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

การปะทุแบบวัลเคเนียน (Vulcanian Eruption)

การปะทุแบบวัลเคเนียนเป็นการปะทุของภูเขาไฟประเภทหนึ่งที่ตั้งชื่อตามภูเขาไฟวัลคาโน (Vulcano) ที่อิตาลี ถูกตั้งชื่อตามข้อสังเกตของ Giuseppe Mercalli จากการปะทุในปี ค.ศ. 1888–1890 การปะทุของวัลเคเนียน แมกมาหนืดปานกลางภายในภูเขาไฟทำให้ฟองแก๊สจะออกได้ยาก ทำให้เกิดลักษณะคล้ายกับการปะทุของสตรอมโบเลียน คือ การสะสมของแก๊สความดันสูงบริเวณใกล้ปากปล่อง ทำให้ฟองแก๊สแตก และดันตัวบริเวณปากปล่องทำให้เกิดการปะทุแบบระเบิด

ภูเขาไฟ ปะทุ ระเบิด วัลเคเนียน Tavurvur
ภาพการปะทุแบบวัลเคเนียน ของภูเขาไฟ Tavurvur ในปาปัวนิวกินี ในปี 2009
ขอบคุณภาพจาก Taro Taylor edit by Richard Bartz, CC BY 2.0, Wikimedia Commons

อย่างไรก็ตาม ก็มีความแตกต่างระหว่างการปะทุแบบนี้ กับการปะทุแบบสตรอมโบเลียน คือ เศษวัสดุที่พ่นออกมา มีทั้งส่วนของลาวา และกรวดภูเขาไฟอยู่ด้วย การปะทุแบบวัลเคเนียนมีการระเบิดรุนแรงมากกว่าแบบสตรอมโบเลียน สามารถพ่นกลุ่มควัน และเถ้าภูเขาไฟ ได้สูงถึง 5 – 10 กม. และทำให้เกิด หินกลุ่มแอนดีสิติก(andesitic) จนถึงดาซิติก (dacitic) มากกว่ากลุ่มหินบะซอลต์ (basaltic)

การปะทุแบบวัลคาเนียน มักเริ่มต้นด้วยการระเบิดสั้นๆ เป็นชุด นานไม่กี่นาทีถึงสองสามชั่วโมง และมีลักษณะเฉพาะคือ มีการพ่นกรวดภูเขาไฟ เช่น บอมบ์ภูเขาไฟ (volcanic bombs) และบล็อกภูเขาไฟ (volcanic blocks) การปะทุแบบนี้ทําให้โดมลาวาพัง และแตกออก ทำให้การปะทุหลังจากนั้นเงียบ แต่ต่อเนื่องมากขึ้น ดังนั้น สัญญาณในระยะแรกของการปะทุแบบวัลคาเนียนที่คาดว่าอาจจะเกิดในอนาคต คือ การมีโดมลาวาที่ใหญ่ขึ้น และมีการดันตัวของ กรวดภูเขาไฟลงมาตามแนวลาดของภูเขาไฟ

ภูเขาไฟ การ ปะทุ ระเบิด วัลเคเนียน Vulcanian Eruption
แผนภาพของ Vulcanian eruption. (key: 1. Ash plume 2. Lapilli 3. Lava fountain 4. Volcanic ash rain 5. Volcanic bomb 6. Lava flow 7. Layers of lava and ash 8. Stratum 9. Sill 10. Magma conduit 11. Magma chamber 12. Dike)
ขอบคุณภาพจาก
Sémhur, CC BY-SA 4.0, via Wikimedia Commons

การปะทุแบบพลิเนียน (Peléan Eruption)

ภูเขาไฟ Peléan eruption การ ปะทุ ระเบิด พลิเนียน
แผนภาพของ Peléan eruption. (key: 1. Ash plume 2. Volcanic ash rain 3. Lava dome 4. Volcanic bomb 5. Pyroclastic flow 6. Layers of lava and ash 7. Stratum 8. Magma conduit 9. Magma chamber 10. Dike)
ขอบคุณภาพจาก
© Sémhur / Wikimedia Commons

การปะทุแบบพลิเนียน ถูกตั้งชื่อตามภูเขาไฟ Pelée บนเกาะ Martinique ของฝรั่งเศส ซึ่งเป็นหนึ่งในพิบัติภัยทางธรรมชาติที่เลวร้ายที่สุดในประวัติศาสตร์

การปะทุแบบพลิเนียน ก๊าซ ฝุ่น เถ้า และเศษลาวาจำนวนมากถูกพ่นออกจากปล่องหลักของภูเขาไฟ ซึ่งเกิดจากการแตกออกของ ลาวาโดม (lava dome) ทำให้เกิดการระเบิด ร่วมกับการเกิดแผ่นดินถล่มที่ประกอบจาก เศษซากลาวาโดม ลาวา หรือวัสดุออกจากปากปล่อง รวมเรียกว่า ไพโรแคล้สติค โฟล (pyroclastic flow) อีกชื่อหนึ่งคือ นูเอ อาร์เดนเท่ (nuée ardente) ซึ่งเป็นกลุ่มแก๊สร้อน จากการระเบิดของภูเขาไฟ ที่พัดอย่างรวดเร็ว และรุนแรง บางครั้งอาจจะมีแสงไฟที่ยังลุกไหม้อยู่ด้วย มีเถ้าลอยอยู่ด้านบน และมีชิ้นส่วนไพโรแคล้สติค (pyroclastic materials) ลอยอยู่ หรือตกลงสู่ด้านล่าง

ภูเขาไฟ ระเบิด ปะทุ กรวดภูเขาไฟ Mayon ฟิลิปปินส์ 1984
ภาพ Pyroclastic flow ถล่มด้านข้างของภูเขาไฟ Mayon ประเทศฟิลิปปินส์ ในปี 1984
ขอบคุณภาพจาก C.G. Newhall, Public domain, via Wikimedia Commons

สัญญาณเริ่มต้นของการปะทุที่อาจจะเกิด คือ การขยายขึ้นของลาวาโดม บริเวณยอดภูเขาไฟ เมื่อเกิดการปะทุวัสดุบนปากปล่องจะยุบตัวลงกลายเป็นกรวดภูเขาไฟไหล ที่ถล่ม / ไหล อย่างรวดเร็ว เป็นการไหลของบล็อกภูเขาไฟ(volcanic block) และเถ้าภูเขาไฟ(volcanic ash) ที่เคลื่อนลงมาด้านข้างของภูเขาเร็วกว่า 150 กม./ชม. การถล่มที่เกิดขึ้นทําให้การปะทุแบบพลิเนียนเป็นอันตรายมาก สามารถถล่มผ่านพื้นที่อยู่อาศัย และทำให้มีการสูญเสียชีวิตได้มากมาย

การปะทุแบบพลิเนียนมีลักษณะเฉพาะที่ชัดเจนคือ การไหลของกรวดภูเขาไฟ กลไกของการปะทุแบบพลิเนียนนั้นคล้ายกับการปะทุแบบวัลเคเนียนมาก ยกเว้นว่าในการปะทุแบบพลิเนียนนั้นโครงสร้างของภูเขาไฟสามารถทนต่อความดันได้มากกว่า ดังนั้นการปะทุจึงเกิดขึ้นเป็นการระเบิดครั้งใหญ่หนึ่งครั้งแทนที่จะเป็นการระเบิดขนาดเล็กหลายๆ ครั้ง

ภูเขาไฟ ระเบิด ปะทุ กรวดภูเขาไฟ เมือง St. Pierre 1902
ภาพเมือง St. Pierre หลังจากการปะทุในปี 1902
ขอบคุณภาพจาก
Angelo Heilprin Wikipedia

การปะทุของภูเขาไฟ Pelée ในปี 1902 ทำให้เกิดการสูญเสียครั้งใหญ่ คร่าชีวิตผู้คนกว่า 30,000 คน และทำลายเมือง St. Pierre ซึ่งเป็นเมืองสำคัญของเกาะ Martinique ของฝรั่งเศสโดยสิ้นเชิง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับภูเขาไฟที่เลวร้ายที่สุดในศตวรรษที่ 20

การปะทุแบบพลิเนียน (Plinian Eruption)

การปะทุแบบพลิเนียน (หรือการปะทุของเวซูเวียน Vesuvian Eruption) เป็นการปะทุของภูเขาไฟชนิดหนึ่งที่ตั้งชื่อตามการปะทุทางประวัติศาสตร์ของภูเขาไฟวิสุเวียสในปี ค.ศ. 79 ที่ฝังเมืองปอมเปอี (Pompeii) และเฮอร์คิวลาเนียม (Herculaneum) ของโรมัน ซึ่งมีการบันทึกเหตุกาณ์จากจดหมายของ Pliny the Younger

กระบวนการปะทุแบบพลิเนียนเริ่มต้นในปล่องแมกมาซึ่งมีก๊าซละลายอยู่ในแมกมา แล้วก๊าซรวมตัวกัน และสะสมตัวเรื่อยๆ เมื่อลอยขึ้นผ่านตามแนวแมกมา ฟองอากาศเหล่านี้เกาะติดกันและเมื่อมีขนาดถึงค่าหนึ่งก็จะระเบิด (ประมาณ 75% ของปริมาตรรวมของปล่องแมกมา) สิ่งที่ส่งผลอีกอย่างคือ ความแคบของท่อแมกมาทำให้ก๊าซ และแมกมาดันตัวขึ้น ทำให้เกิดการปะทุรุนแรง และมีควันกลุ่มเถ้าถ่านขนาดใหญ่พุ่งขึ้นไปในอากาศ

ภาพควันกลุ่มเถ้าถ่านจากภูเขาไฟ Redoubt เมื่อมองไปทางทิศตะวันตกจากคาบสมุทร Kenai รัฐอลาสก้า สหรัฐอเมริกา ในวันที่ 21 เมษายน 1990
ขอบคุณภาพจาก R. Clucas Wikimedia Commons

ความเร็วของการปะทุถูกควบคุมโดยปริมาณก๊าซในปล่องแมกมาและหินพื้นผิวที่มีความแข็งแรงต่ำมักจะแตกออกเมื่อถูกกระทำโดยแรงดันของการปะทุทำให้เกิดเป็นลักษณะที่ผลักก๊าซให้เคลื่อนเร็วขึ้นอีก การปะทุจะทำให้เกิดกลุ่มควันเถ้าถ่านขนาดใหญ่พุ่งเป็นรูปแบบเฉพาะของการปะทุแบบพลิเนียน อาจจะสูง 2 – 45 กม.ในชั้นบรรยากาศ ส่วนที่หนาแน่นที่สุดของกลุ่มฝุ่นควันจะอยู่เหนือปากปล่องภูเขาไฟ เพราะถูกดันจากการขยายตัวของก๊าซดันขึ้นมาด้านบนตรงๆ เมื่อกลุ่มฝุ่นควันลอยสูงขึ้นก็จะขยายตัวและมีความหนาแน่นน้อย การพาความร้อนและการขยายตัวจากความร้อนของเถ้าภูเขาไฟจะผลักดันให้กลุ่มฝุ่นควันลอยสูงขึ้นไปอีกจนถึงชั้นสตราโตสเฟียร์ และบริเวณด้านบนสุดของกลุ่มฝุ่นควันก็จะถูกแรงลมพัดห่างออกไปจากภูเขาไฟ

แผนภาพของ Plinian eruption. (key: 1. Ash plume 2. Magma conduit 3. Volcanic ash rain 4. Layers of lava and ash 5. Stratum 6. Magma chamber)
ขอบคุณภาพจาก
© Sémhur / Wikimedia Commons

แผนภาพเปรียบเทียบลักษณะของการปะทุของภูเขาไฟ

ขอบคุณภาพจาก This image has been created during “DensityDesign Integrated Course Final Synthesis Studio” at Polytechnic University of Milan, organized by DensityDesign Research Lab in 2015. Image is released under CC-BY-SA licence. Attribution goes to “Chiara Cingottini, DensityDesign Research Lab”., CC BY-SA 4.0, via Wikimedia Commons

การปะทุแบบฟรีเอโทแมกมาทิค (Phreatomagmatic Eruption)

การปะทุแบบฟรีเอโทแมกมาทิค (Phreatomagmatic Eruption) หรือ ไฮโดรโวแคนิค (hydrovolcanic) เกิดขึ้นจากปฏิกิริยาระหว่างน้ำกับแมกมา คือ แมกมาเกิดการหดตัวทางความร้อนตัวเมื่อสัมผัสกับน้ำ ต่างจากการปะทุแบบแมกมาติกซึ่งเกิดจากการขยายตัวเพราะความร้อน) ความแตกต่างของอุณหภูมิระหว่างทั้งสองทําให้เกิดปฏิสัมพันธ์ระหว่างลาวากับน้ำอย่างรุนแรงทำให้เกิดการระเบิด ผลของการปะทุแบบนี้ ทำให้เกิดหิน ที่มีรูปร่างสม่ำเสมอ และมีผงละเอียดกว่าการปะทุแบบ Magmatic เนื่องจากความแตกต่างของกลไกการปะทุ

ยังมีการถกเถียงกันเกี่ยวกับลักษณะที่แน่นอนของการปะทุของ phreatomagmatic และนักวิทยาศาสตร์บางคนเชื่อว่าปฏิกิริยาระหว่างเชื่อเพลิง-สารหล่อเย็น อาจมีความสำคัญต่อลักษณะการระเบิดในธรรมชาติมากกว่าการหดตัวทางความร้อน ปฏิกิริยาระหว่างเชื่อเพลิง-สารหล่อเย็น อาจทำให้วัสดุภูเขาไฟแตกร้าว โดยการแพร่กระจายของคลื่นความเครียด รอยแตกที่กว้างขึ้น และพื้นที่ผิวที่เพิ่มขึ้นอย่างมาก ซึ่งท้ายที่สุดจะนำไปสู่การเย็นตัวอย่างรวดเร็ว และ เกิดการระเบิดที่เกิดจากการหดตัว

การปะทุแบบเซิร์ทเซย์ (Surtseyan Eruption)

การปะทุแบบเซิร์ทเซย์ (หรือ hydrovolcanic) เป็นการปะทุของภูเขาไฟแบบหนึ่งที่โดดเด่นด้วยปฏิสัมพันธ์ระหว่างน้ำตื้นกับลาวา ตั้งชื่อตามตัวอย่างที่มีชื่อเสียงที่สุดการปะทุและการก่อตัวของเกาะ Surtsey นอกชายฝั่งไอซ์แลนด์ในปี 1963 การปะทุแบบเซิร์ทเซย์ นั้นเทียบกับการปะทุของภุเขาไฟบนพื้นดิน คือ การปะทุแบบสตรอมโบเลียน เพียงแต่เป็นแบบที่ “เปียก” แต่เนื่องจากเกิดขึ้นในน้ำทำให้ระเบิดมากกว่า เมื่อน้ำถูกลาวาทําให้ร้อนขึ้น มันจึงวาบเป็นไอน้ำและขยายตัวอย่างรุนแรง แยกส่วนแมกมาที่สัมผัสเป็นเถ้าเนื้อละเอียด ถึงการปะทุแบบเซิร์ทเซย์ เป็นเรื่องปกติของหมู่เกาะภูเขาไฟในมหาสมุทรน้ำตื้น แต่สามารถเกิดขึ้นได้บนบกเช่นกัน จากแมกมาที่ขึ้นมาสัมผัสกับชั้นหินอุ้มน้ำที่ชั้นตื้นใต้ภูเขาไฟ

แผนภาพของ Surtseyan eruption. (key: 1. Water vapor cloud 2. Compressed ash 3. Crater 4. Water 5. Layers of lava and ash 6. Stratum 7. Magma conduit 8. Magma chamber 9. Dike)
ขอบคุณภาพจาก
© Sémhur / Wikimedia Commons
ภุเขาไฟเซิร์ทเซย์ เป็นตัวอย่างที่ชัดเจนที่สุดสำหรับการปะทุแบบเซิร์ทเซย์
ขอบคุณภาพจาก
NOAA, Public domain, via Wikimedia Commons

หินผลิตภัณฑ์จากการปะทุแบบเซิร์ทเซย์โดยทั่วไปคือหินบะซอลต์พาลาโกไนต์ (palagonite) ที่ถูกออกซิไดซ์ (แม้ว่าการปะทุของแอนดีซิติกจะเกิดขึ้นไม่บ่อย) และเช่นเดียวกับการปะทุแบบสตรอมโบลี การปะทุแบบเซิร์ทเซย์นั้นมักจะเกิดต่อเนื่องกันหรือเป็นรอบๆ

ลักษณะเฉพาะของการปะทุแบบเซิร์ทเซย์ คือ การเกิด ไพโรแคล้สติค เซิร์จ (pyroclastic surge) เป็นการทะลักของกรวดภูเขาไฟความหนาแน่นต่ำ ทำให้กลุ่มแก๊ส และเศษแขวนลอยรูปวงแหวน ที่เคลื่อนที่ออกไปทุกทิศทางด้วยความเร็วสูง เป็นลักษณะเรียกว่า เบส เซิร์จ (base surge) เกิดจากการดันตัวของกลุ่มวันที่เป็นไอน้ำ ซึ่งเป็นการไหลเนื่องจากความหนาแน่นจากด้านล่างของการระเบิดในแนวตั้ง และกลุ่มควันมีความหนาแน่นมากกว่ากลุ่มควันของการปะทุของภูเขาไฟปกติ ส่วนที่หนาแน่นที่สุดของกลุ่มควันคือส่วนที่อยู่ใกล้ปากปล่องที่สุด เมื่อเวลาผ่านไป การปะทุแบบเซิร์ทเซย์มักทำให้เกิด มาร์ (maars) เป็นแอ่งตื้นกว้าง

การปะทุแบบใต้น้ำ (Submarine Eruption)

แผนภาพของ Submarine eruption. (key: 1. Water vapor cloud 2. Water 3. Stratum 4. Lava flow 5. Magma conduit 6. Magma chamber 7. Dike 8. Pillow lava)
ขอบคุณภาพจาก
© Sémhur / Wikimedia Commons

การปะทุแบบซับมารีน หรือแบบใต้น้ำ เป็นการปะทุของภูเขาไฟประเภทหนึ่งที่เกิดขึ้นใต้น้ำ ประมาณการณ์ว่าคิดเป็น 75% ของปริมาตรการปะทุของภูเขาไฟทั้งหมดที่เกิดขึ้นที่ สันเขากลางมหาสมุทร (mid-ocean ridge) อย่างไรก็ตามด้วยเทคโนโลยีการตัวจับ ทำให้เพิ่งเริ่มมีข้อมูลจากการสังเกตในช่วงปี 1990 เป็นต้นมา

การปะทุใต้น้ำทำให้พื้นผิวใต้ทะเลแตกออก และฟอร์มตัวเป็นเกาะภูเขาไฟและหมู่เกาะใหม่ๆ เกิดขึ้น

ภาพดาวเทียมของการปะทุใต้น้ำที่ Fukutoku-Okanoba
ขอบคุณภาพ จาก Japan Meteorological Agency, CC BY 4.0, via Wikimedia Commons

การปะทุใต้น้ำเกิดขึ้นจากหลายกระบวนการ ภูเขาไฟใกล้ขอบเขตของแผ่นเปลือกโลกและสันเขากลางมหาสมุทรเกิดขึ้นจากการลดความดันลงของหินหลอมเหลวจากชั้นแมนเทิลที่ถูกพาไปด้านบนจากวงจรพาความร้อนสู่ชั้นเปลือกโลก อีกสาเหตุหนึ่ง คือ เขตมุดตัวที่มีจุดหลอมเหลวลดลง เนื่องจากแผ่นเปลือกโลกที่มุดตัวมีการปลดปล่อยก๊าซไปให้กับแผ่นเปลือกโลกที่กำลังเคลื่อนขึ้น แต่ละกระบวนการทำให้เกิดหินที่แตกต่างกันออกไป ภูเขาไฟใต้ทะเลบริเวณสันเขากลางมหาสมุทรทำให้เกิดหินบะซอลต์เป็นหลัก ส่วนการมุดตัวทำให้เกิด แคลค-แอลเคอไลน (calc-alkaline)

การปะทุใต้น้ำที่ West Mata
ขอบคุณภาพจาก NOAA/National Science Foundation, Public domain, via Wikimedia Commons

อัตราการขยายตัวตามแนวสันเขากลางมหาสมุทรเป็นไปได้ตั้งแต่ 2 ซม. ต่อปีที่สันเขากลางมหาสมุทรแอตแลนติก จนถึง 16 ซม. ตามแนวชายฝั่งแปซิฟิกตะวันออก อัตราการขยายตัวที่มากขึ้นเป็นไปได้ว่าอาจทำให้เกิดกระบวนการที่เกี่ยวกับภูเขาไฟที่มากขึ้นตามไปด้วย เทคโนโลยีสําหรับการศึกษาการปะทุของภูเขาใต้น้ำเริ่มต้นจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีไฮโดรโฟน (hydrophone technology) ทําให้สามารถ “ฟัง” คลื่นตติยภูมิ หรือ T-wave (tertiary waves) ซึ่งปล่อยออกมาจากแผ่นดินไหวใต้น้ำที่เกี่ยวข้องกับการปะทุของภูเขาไฟใต้น้ำ เหตุผลว่าทำไมการตรวจจับภูเขาไฟปะทุใต้น้ำทำได้ช้า เนื่องจากเครื่องวัดแผ่นดินไหว (seismometers) บนบกไม่สามารถตรวจจับแผ่นดินไหวในทะเลที่มีขนาดต่ำกว่า 4 ได้ แต่คลื่นเสียงจะเคลื่อนที่ได้ดีในน้ำและใช้ระยะเดินทางนาน ระบบในแปซิฟิกเหนือซึ่งดูแลโดยกองทัพเรือสหรัฐฯ เดิมมีจุดประสงค์เพื่อการตรวจจับเรือดำน้ำ ตรวจพบเหตุการณ์โดยเฉลี่ยทุกๆ 2 ถึง 3 ปี

การปะทุใต้ธารน้ำแข็ง (Subglacial Eruption)

การปะทุใต้ธารน้ำแข็ง เป็นการปะทุที่มีลักษณะเด่น คือ มีปฏิสัมพันธ์ระหว่างลาวาและน้ำแข็ง ซึ่งส่วนมากคือภูเขาไฟจะอยู่ใต้ธารน้ำแข็ง (glacier) ด้วยลักษณะที่เป็นกระบวนการภูเขาไฟที่เกี่ยวข้องกับธารน้ำแข็ง ข้อสังเกตหนึ่งคือ ภูเขาไฟใต้ธารน้ำแข็งไม่ค่อยมีการปะทุบ่อยๆ แต่มีการปลดปล่อยความร้อนไปที่น้ำแข็งที่ปกคลุมภูเขาไฟอยู่ ทำให้น้ำแข็งละลาย พื้นที่ที่พบการปะทุแบบนี้ เช่น ไอซ์แลนด์ อลาสก้า และบางส่วนของเทือกเขาแอนดีส รวมถึง ทวีปแอนตาร์กติกา

น้ำแข็งที่ละลายพวกนี้ทำให้ การปะทุใต้ธารน้ำแข็งทำให้เกิด Jökulhlaups หรือ น้ำท่วมทะลักจากธารน้ำแข็ง (glacial outburst floods : GLOFS) และเกิดโคลนร้อนไหล (Lahar) ได้ด้วย ปริมาณน้ำที่ละลายออกมาสามารถมีได้ถึง 10,000 – 100,000 ลูกบาศก์เมตรต่อวินาที ถ้าหากมีการปะทุขนาดใหญ่ใต้ธารน้ำแข็ง

ภาพถ่ายของ ธารน้ำแข็ง Eyjafjallajökull และภูเขาไฟที่กำลังปะทุจากเมือง Hvolsvöllur (อยู่ทางตอนใต้ของไอซ์แลนด์) ในวันที่ 17 เม.ย. 2010
ขอบคุณภาพจาก Boaworm, CC BY 3.0, via Wikimedia Commons
แผนภาพของ Subglacial eruption. (key: 1. Water vapor cloud 2. Crater lake 3. Ice 4. Layers of lava and ash 5. Stratum 6. Pillow lava 7. Magma conduit 8. Magma chamber 9. Dike)
ขอบคุณภาพจาก
© Sémhur / Wikimedia Commons

การปะทุแบบฟรีเอทิค (Phreatic Eruption)

การปะทุแบบฟรีเอทิค (Phreatic Eruption) หรืออาจจะถูกเรียกว่า การระเบิดฟรีเอทิค (phreatic explosion) กระปะทุแบบนี้เกิดขึ้นจาก แมกมาให้ความร้อนกับน้ำใต้ดิน หรือ น้ำผิวดิน ด้วยอุณหภูมิที่สูงมากของแมกมา (อาจจะสูงถึง 500 – 1,170°C) ทำให้เกิดการระเหยเป็นไออย่างเฉียบพลัน ทำให้กลายเป็นการระเบิดของไอน้ำ เถ้า หิน บอมบ์ภูเขาไฟ หรือบล็อคภูเขาไฟ โดยที่ไม่มีการลุกโชติช่วง

Diagram of a phreatic eruption. (key: 1. Water vapor cloud 2. Magma conduit 3. Layers of lava and ash 4. Stratum 5. Water table 6. Explosion 7. Magma chamber)
ขอบคุณภาพจาก
Sémhur, CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons
การปะทุแบบฟรีเอทิคที่ยอดของภูเขา St. Helens รัฐวอชิงตัน ในฤดูใบไม้ผลิปี 1980
ขอบคุณภาพจาก D.A. Swanson, USGS via Wikimedia Commons

การปะทุแบบฟรีเอทิคโดยทั่วไปมักจะมี ไอน้ำ และกรวดภูเขาไฟ แต่ปกติจะไม่มีลาวาเหลวออกมาด้วย อุณหภูมิของวัสดุที่ออกมาอาจจะเย็นหรือยังร้อนระอุอยู่ก็ได้ ถ้าหากมีลาวาเหลวออกมาด้วย มักจะถูกจัดกลุ่มเป็นการปะทุแบบฟรีเอโทแมกมาทิค (Phreatomagmatic Eruption) การปะทุแบบฟรีเอทิคบางครั้งทำให้เกิดแอ่งตื้นกว้างที่เรียกว่า มาร์ (maars)

การปะทุแบบฟรีเอทิคอาจมีการปล่อย คาร์บอนไดออกไซด์ หรือก๊าซไฮโดรเจนซัลไฟด์ออกมาได้ด้วย คาร์บอนไดออกไซด์สามารถทำให้ขาดอากาศหายใจได้เมื่อมีความเข้มข้นสูงเพียงพอ ไฮโดรเจนซัลไฟด์ความเข้มข้นสูงจะเป็นก๊าซพิษ เคยมีการปะทุแบบฟรีเอทิค ในปี 1979 บนเกาะชวา คร่าชีวิตไปถึง 140 ราย ซึ่งส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากก๊าซพิษ นอกจากนี้การปะทุแบบฟรีเอทิค สามารถทำให้เกิด เบส เซิร์จ (base surge), โคลนร้อนไหล (Lahar) หรือฝนบล็อคภูเขาไฟ ได้ด้วย

Loading