ฟอสซิล หรือซากดึกดำบรรพ์ มีกี่ประเภท

ฟอสซิล หรือซากดึกดำบรรพ์มีหลายประเภท ฟอสซิลแต่ละประเภทได้ช่วยคลี่คลายความสงสัยให้กับนักวิทยาศาสตร์ได้เป็นอย่างดี


ฟอสซิลของ Tyrannosaurus rex แถมให้นิดนึงนะจ๊ะ คำว่า rex เป็นภาษา Latin แปลว่า King – ราชา จ้าา

ฟอสซิล แบ่งได้เป็นประเภทต่างๆ ดังนี้

  • ร่องรอย (Trace Fossil) – เป็นร่องรอยที่เกิดจากสิ่งมีชีวิตในช่วงที่ยังมีชีวิตอยู่ เช่น รอยคืบคลาน รอยตีนและกลายเป็นหินในระยะเวลาต่อมา
  • รอยพิมพ์ (mold) – เกิดจากซากสิ่งมีชีวิตส่วนที่เป็นโครงแข็งถูกทับถมโดยตะกอน และเกิดเป็นรอยพิมพ์ปรากฏอยู่ในหิน
  • รูปหล่อ (cast) – เมื่อซากทำให้เกิดแบบหล่อ แล้วปรากฎว่าส่วนที่แข็งดังกล่าวถูกชะล้างหรือละลายออกไปจนกลายเป็นช่องว่าง เมื่อช่องว่างถูกแทนที่ด้วยแร่หรือหินอื่นๆ ก็จะกลายเป็นรูปหล่อ
  • ฟิล์ม (impression) – เมื่อซากอินทรีย์ถูกฝังอยู่ในตะกอน และอัดตัวแน่นกลายเป็นหิน ก็จะปรากฏเป็นร่องรอยกดของสารอินทรีย์ เช่น รอยใบไม้ ประทับอยู่ในหิน
  • การกลายเป็นหิน (petrification) – มักเกิดกับเป็นของแข็ง เช่น กระดูก เปลือกหอย ไม้ เป็นต้น โดยเกิดจากสารละลายในน้ำใต้ดินที่มีแร่ธาตุต่างๆ ได้แทรกซึมเข้าไปตกผลึกในช่องว่างภายในเซลล์แทนที่เนื้อเยื่อหรือผนังเซลล์ของพืช สัตว์ และกลายเป็นหิน

ไปดูคลิปอธิบายได้เลยจ้าาา

ถ้าน้องๆ สนใจวิชาโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ น้องๆ ไปตามเพจของพี่ได้เลยนะคะ

หนังสือ สรุปโลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ

  

Loading