สอวน. คำถามที่พบบ่อย (FAQ)

สอวน สมัคร สอบ

สอวน. (POSN) เป็นการสอบที่ไม่ได้อยู่ในหลักสูตรตามปกติ แต่เป็นส่วนเสริมที่เป็นส่วนสำคัญในการต่อยอดทางวิชาการของผู้เรียนในวิชาต่างๆ ผู้ปกครอง รวมถึงตัวน้องๆ มีคำถามมากมายที่ต้องหาข้อมูล เว็บไซต์เราจึงได้รวบรวมคำถามและคำตอบขึ้นมาให้เพื่อเป็นการอำนายความสะดวกแก่ผู้ที่ต้องการข้อมูล

สอวน. คืออะไร ย่อมาจากอะไร?

สอวน. ย่อมาจาก มูลนิธิส่งเสริมโอลิมปิกวิชาการ และพัฒนามาตรฐานวิทยาศาสตร์ศึกษา ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ โดยมี สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ทรงเป็นประธาน
POSN ย่อมาจาก The Promotion of Academic Olympiad and Development of Science Education Foundation under the patronage of Her Royal Highness Princess Galyani Vadhana Krom Luang Naradhiwas Rajanagarindra

มูลนิธิฯ มีหน้าที่ พัฒนาการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และคอมพิวเตอร์ระดับโรงเรียนให้เทียบเท่ามาตรฐานสากล และ ส่งเสริมให้นักเรียนในระดับมัธยมศึกษาทั่วประเทศที่มีความสามารถทางด้านคณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ และคอมพิวเตอร์มีโอกาสได้รับการพัฒนาศักยภาพด้านทฤษฎีและทักษะด้านปฏิบัติให้สามารถวิเคราะห์และสังเคราะห์ปัญหาที่ซับซ้อนได้ และพร้อมคัดเลือกไปแข่งขันโอลิมปิกวิชาการระหว่างประเทศในเวทีนานาชาติ
Ref. https://www.posn.or.th/

IJSO กับ สอวน. (POSN) ต่างกันอย่างไร?

IJSO

IJSO ย่อมาจาก International Junior Science Olympiad คือ การแข่งวิทยาศาสตร์ระหว่างประเทศสำหรับเยาวชน อายุไม่เกิน 15 ปี มีการแข่งทุกปีตามแต่ละประเทศ โดยมีตัวแทนประเทศเป็นนักเรียน 6 คนและมีอาจารย์ผู้ควบคุมทีม 3 คน โดยการสอบจะเป็นวิชาคณิตศาสตร์, ฟิสิกส์, เคมี และชีววิทยา

สอวน. (POSN)

ส่วนของ สอวน. มีเพื่อคัดเลือก และเตรียมพร้อมเพื่อหาตัวแทนประเทศไปแข่งขันโอลิมปิควิชาการแยกตามแต่ละวิชา ปัจจุบันมีทั้งหมด 8 วิชา โดยการสอบ จะแยกไปตามแต่ละวิชา โดยเมื่อสอบคัดเลือกแล้ว ค่ายสอวน. ที่เรียกกันเล่นๆ ว่าค่ายโอลิมปิกแบบอ้อม ถ้านักเรียนสอบผ่านก็จะได้เข้าค่าย โดยเป็นค่ายที่คัดคนไปแข่งโอลิมปิกวิชาการโดยจะมีการจัดสอบ การเข้าค่าย และสอบคัดคนออกเรื่อยๆ เพื่อนำคนที่ผ่านรอบสุดท้ายไปอบรมก่อนไปแข่งขันในระดับนานาชาติ

จะติดตามข้อมูลการสอบได้จากที่ไหน?

ข้อมูลการสอบจะแบ่ง ออกเป็น 2 ส่วน คือ ข้อมูลจากส่วนกลาง และข้อมูลจากแต่ละศูนย์ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ข้อมูลจากส่วนกลาง

มักจะเป็นข้อมูลภาพรวมของการสอบรวมทั้งหมด หรือเป็นข้อมูลที่ทางศูนย์สอบส่งให้กับส่วนกลางช่วยประชาสัมพันธ์ในบางเรื่อง ช่องทางติดตาม :

ข้อมูลจากแต่ละศูนย์ หรือหน่วยงานที่รับผิดชอบ

ต้องตรวจสอบตามช่องทางของแต่ละศูนย์ ทีมงานได้รวบรวม รายชื่อศูนย์สอบเอาไว้เบื้องต้นที่นี่ คลิกเพื่ออ่านต่อ

สอบ สอวน. แล้วดียังไง?

เจ้าหน้าที่ของเว็บไซต์ได้รวมประโยชน์จากการสอบสอวน ไว้ที่นี่ให้แล้ว สิทธิประโยชน์จากการสอบ สอวน. คลิกเพื่ออ่านต่อ

มีการสอบวิชาอะไรบ้าง?

การสอบมีทั้งหมด 8 วิชา ดังนี้

  1. ศูนย์สอบ วิชาคณิตศาสตร์
  2. ศูนย์สอบ วิชาฟิสิกส์
  3. ศูนย์สอบ วิชาเคมี
  4. ศูนย์สอบ วิชาชีววิทยา
  5. ศูนย์สอบ วิชาคอมพิวเตอร์
  6. ศูนย์สอบ วิชาดาราศาสตร์
  7. ศูนย์สอบ วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ
  8. ศูนย์สอบ วิชาภูมิศาสตร์

สมัครสอบได้ตั้งแต่ระดับชั้นอะไร?

การสอบแต่ละวิชา และแต่ละศูนย์สอบ จะมีหลักเกณฑ์ในการสอบคัดเลือกตามเงื่อนไขของแต่ละศูนย์ สามารถจัดกลุ่มเบื้องต้นได้ดังนี้

วิชาคณิตศาสตร์ วิชาคอมพิวเตอร์ วิชาดาราศาสตร์ : สามารถสมัครสอบได้ตั้งแต่ ม.1 – ม.5 (สำหรับ ม.ต้น จะมีเกณฑ์อายุ จะต้องตรวจสอบช่วงวันเกิดกับศูนย์สอบ)

วิชาฟิสิกส์ วิชาเคมี วิชาชีววิทยา วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ : สามารถสมัครสอบได้ตั้งแต่ ม.3 – ม.5

วิชาภูมิศาสตร์ : สามารถสมัครสอบได้ เฉพาะนักเรียน ม.ปลาย ในเกณฑ์อายุ 16-19 ปี (ต้องตรวจสอบช่วงวันเกิด กับทางศูนย์สอบ)

Timeline สอวน. เปิดรับสมัครสอบช่วงไหน?

Timeline ของการสมัคร และการสอบเบื้องต้นจะเป็นดังนี้
***วันที่และระยะเวลาจริงของแต่ละวิชาจะกำหนดโดยศูนย์สอบนั้นๆ กรุณาตรวจสอบ และยึดตามศูนย์สอบแต่ละวิชาเป็นสำคัญ ***

  • สมัครสอบ ประมาณเดือน มิ.ย. – ส.ค. ของแต่ละปี
  • สอบคัดเลือกครั้งที่ 1 ประมาณ ปลายเดือน ส.ค. – เดือน ก.ย. ของแต่ละปี

หลังจากนั้น แต่ะศูนย์ฯ จะจัดการวันเวลาเข้าค่ายอบรม และการสอบคัดเลือกตามแต่ละศูนย์ ทางผู้ปกครอง และนักเรียนผู้เข้าสอบควรคอยติดตามผลการสอบเพื่อไม่ให้เสียโอกาสในการเข้าค่าย และเสียสิทธิ์ในการรายงานตัวเพื่อ เข้าร่วมค่าย และได้รับประสบการณ์ใหม่ๆ

น้องจะต้องสมัครสอบที่ไหน?

สมัครตามช่องทางของแต่ละศูนย์ ทีมงานได้รวบรวม รายชื่อศูนย์สอบเอาไว้เบื้องต้นที่นี่ คลิกเพื่ออ่านต่อ

สอวน. กรุงเทพฯ คืออะไร ต่างจากศูนย์สมัครสอบอื่นอย่างไร?

ศูนย์ฯ กรุงเทพฯ จะรับผิดชอบการรับสมัคร วิชาชีววิทยา วิชาคณิตศาสตร์ วิชาเคมี วิชาฟิสิกส์ วิชาคอมพิวเตอร์ ในพื้นที่การสอบใน กรุงเทพมหานครฯ ทั้งหมด โดยจะใช้ระบบการสมัครสอบร่วมกันและสมัครในวันเดียวกัน แต่ ศูนย์ฯ กรุงเทพฯ ก็จะไม่ได้รับสมัครวิชาดาราศาสตร์ วิชาวิทยาศาสตร์โลกและอวกาศ วิชาภูมิศาสตร์ ซึ่งวิชาเหล่านี้ต้องติดตามวันรับสมัคร วันสอบ และดำเนินการต่างๆ กับทางศูนย์ของแต่ละวิชาโดยตรง

ศูนย์ฯ กรุงเทพฯ จะรับสมัครผ่านเว็บไซต์ https://www.bkkposn.com/ โดยนักเรียนจะสามารถเลือกสถานที่สอบ 1 ที่จาก 6 ที่ ได้ดังนี้

  1. โรงเรียนเทพศิรินทร์
  2. โรงเรียนสวนกุหลาบวิทยาลัย
  3. โรงเรียนบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)
  4. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษา
  5. โรงเรียนสามเสนวิทยาลัย
  6. โรงเรียนเตรียมอุดมศึกษาพัฒนาการ

สมัครสอบหลายวิชาได้รึเปล่า?

สามารถสมัครสอบได้ตามเงื่อนไขของศูนย์สอบ และหากต้องสมัครข้ามศูนย์สอบ แนะนำให้ปรึกษาทางศูนย์สอบด้วย

Appcode สอวน. คืออะไร?

Appcode เป็นชุดตัวเลขที่ใช้เพื่อเข้าระบบ ของศูนย์ฯ กรุงเทพ โดยจะได้รับหลังจากขั้นตอนสมัครบนเว็บไซต์ โดยแนะนำให้สอบถามข้อมูลโดยตรงกับทางเพจของศูนย์ฯ กทม. ถ้าหาก พบปัญหาในการใช้งานผ่านระบบ เช่น พิมพ์ไม่ออก หรือแสดงผลเป็นข้อความแปลกๆ เบื้องต้น ทางศูนย์ฯ เคยแจ้งให้เลือกใช้ คอมพิวเตอร์ในการสมัคร จะมีโอกาสพบปัญหาน้อยที่สุด

APPCODE ปรากฏอยู่ในเอกสารการชำระเงินที่พิมพ์ และอีเมล์ที่ให้ในการสมัคร โดย APPCODE จะใช้สำหรับเข้าสู่ระบบ เพื่อเลือกสถานที่สอบ พิมพ์บัตรประจำตัวผู้เข้าสอบ และขั้นตอนอื่นๆ
หากผู้สมัครไม่ได้จดไว้ หรือ พิมพ์ใบชำระเงินออกมา หรือ ไม่ได้บันทึกเป็นไฟล์ไว้ ด้วยเพราะผู้สมัครสอบไม่ได้ตรวจสอบรายละเอียดในขั้นตอนสมัครให้ดี สามารถใช้ระบบลืม APPCODE ได้ที่ https://bkk.posn.or.th/form/forgot/
หากผู้สมัครไม่สามารถเข้าถึงอีเมล์ที่ให้ในการสมัครได้ จะต้องดำเนินการติดต่อทางเพจ พร้อมส่งหลักฐานเพื่อยืนยันตัวตนของผู้สมัครต่อไป
ทางศูนย์ฯ แนะนำให้ผู้ปกครอง ควรให้ผู้สมัครสอบสมัครด้วยตนเอง รวมถึงติดต่อแก้ปัญหาด้วยตนเอง เพื่อจะได้รับทราบถึงขั้นตอนและเอกสารที่จำเป็นต้องใช้

ขอบคุณข้อมูลจากเพจ : https://www.facebook.com/bkkposn/posts/1981821818517977/

Loading