แผ่นดินไหว – สาเหตุ และการรับมือ

แผ่นดินไหว เป็นการสั่นของพื้นผิวโลกซึ่งเป็นผลมาจากการปลดปล่อยพลังงานอย่างกะทันหันในชั้นธรณีภาคของโลก แผ่นดินไหวอาจมีความรุนแรงได้ตั้งแต่ระดับที่เบาจนไม่สามารถรู้สึกได้ ไปจนถึงความรุนแรงที่มากพอที่จะทำให้วัตถุและผู้คนลอยขึ้นไปในอากาศได้ และทำลายล้างทั่วทั้งเมืองได้เลย แผ่นดินไหวเป็นหนึ่งในธรณีพิบัติภัยที่มีโอกาสเกิดในประเทศไทย สามารถอ่านเรื่อง ธรณีพิบัติภัย ได้ที่นี่

ในความเข้าใจทั่วไป คำว่า แผ่นดินไหว ใช้เพื่ออธิบายเหตุการณ์อะไรก็ตามที่ทำให้เกิดคลื่นไหวสะเทือน แผ่นดินไหวส่วนใหญ่เกิดจากการแตกของรอยเลื่อน แต่อาจจะเกิดจากเหตุการณ์อื่นๆ เช่น การปะทุของภูเขาไฟ แผ่นดินถล่ม การระเบิดของทุ่นระเบิด และการทดสอบนิวเคลียร์

แผ่นดินไหวมีผลกระทบมากมาย สามารถอ่านต่อได้…ที่นี่

แผ่นดินไหว เกิดจากอะไร?

การเกิดแผ่นดินไหวแบ่งออกเป็น 2 สาเหตุใหญ่คือ การกระทำของมนุษย์ และ เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ

การกระทำของมนุษย์ : การทดลองระเบิดนิวเคลียร์ การขุดเจาะเหมืองแร่โดยการระเบิด การทำเหมืองในระดับลึก การทำอะไรบางอย่างกับมวลมหาศาล เช่น การกักเก็บน้ำในเขื่อน เป็นต้น

เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ : เกิดจากการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก โดยเมื่อมีการปลดปล่อยพลังงานออกมาจากความเค้น หรือความเครียดก็จะเกิดแผ่นดินไหวขึ้น

คำที่เกี่ยวข้องกับ แผ่นดินไหว

AnsateSam Hocevar (original author; this is a derivative work)User:TFerenczy create SVG version; cs translationUser:NikNaks es translationUser:Lies Van Rompaey nl translationUser:Rostik252004 ru translationUser:Ата uk translation, CC BY-SA 1.0, via Wikimedia Commons

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Focus)

ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว คือ ตำแหน่งภายในเปลือกโลกที่เกิดแผ่นดินไหว เมื่อพลังงานถูกปลดปล่อยออกมาที่ศูนย์เกิดแผ่นดินไหว คลื่นไหวสะเทือนจะเคลื่อนออกจากจุดนั้นในทุกทิศทาง

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว (Epicenter)

จุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว คือ จุดบนพื้นผิวที่อยู่เหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว

คลื่นแผ่นดินไหว หรือคลื่นไหวสะเทือน (Seimic Wave)

คลื่นไหวสะเทือนเกิดจากการเคลื่อนตัวของวัสดุในโลกอย่างกะทันหัน เช่น การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลกที่รอยเลื่อนระหว่างเกิดแผ่นดินไหว การปะทุของภูเขาไฟ ดินถล่ม หิมะถล่ม และ แม้แต่แม่น้ำที่ไหลเชี่ยวก็สามารถทำให้เกิดคลื่นไหวสะเทือนได้เช่นกัน คลื่นไหวสะเทือนเคลื่อนที่ผ่านโลกสามารถบันทึกได้ด้วย เครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือน (seismograph)

คลื่นไหวสะเทือนมีหลายประเภท และมีลักษณะที่ต่างกัน คลื่นสองประเภทหลักแบ่งเป็น คลื่นในตัวกลาง และคลื่นพื้นผิว คลื่นในตัวกลางสามารถเดินทางผ่านชั้นต่างๆ ของโลกได้ตามชนิดย่อย แต่คลื่นพื้นผิวสามารถเคลื่อนที่ไปตามพื้นผิวของโลกเหมือนระลอกคลื่นในน้ำเท่านั้น แผ่นดินไหวครั้งหนึ่งจะเกิดทั้งคลื่นในตัวกลางและคลื่นพื้นผิว

เครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือน (Seismograph)

เครื่องวัดแผ่นดินไหวเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการตรวจจับและบันทึกแผ่นดินไหว เครื่องวัดแผ่นดินไหวโดยทั่วไปเป็นการเรียกรวมกับทั้งเครื่องวัดแผ่นดินไหวและอุปกรณ์บันทึกข้อมูล


ภาพตัวอย่างของเครื่องวัดคลื่นไหวสะเทือน (Seismograph)
ขอบคุณภาพจาก Yamaguchi先生, CC BY-SA 3.0, Link

รอยเลื่อน (Fault)

รอยเลื่อน คือ การแตกหักของระนาบหรือความไม่ต่อเนื่องของหินซึ่งมีการเคลื่อนตัวที่เป็นผลมาจากการเคลื่อนที่ของมวลหิน รอยเลื่อนขนาดใหญ่ภายในเปลือกโลกเกิดจากการแปรสัณฐานของแผ่นเปลือกโลก การปลดปล่อยพลังงานเกี่ยวข้องกับการเคลื่อนไหวอย่างรวดเร็วของรอยเลื่อนซึ่งเป็นสาเหตุของแผ่นดินไหวส่วนใหญ่

แผ่นดินไหวหลัก (Mainshock)

แผ่นดินไหวที่ใหญ่ที่สุดในบริเวณเดียวกันในช่วงที่เกิดเหตุแผ่นดินไหว

ภาพเคลื่อนไหวแสดงตัวอย่างการเกิด Foreshock Mainshock Aftershock

แผ่นดินไหวนำ (Foreshock)

แผ่นดินไหวนำ (Foreshock) คือแผ่นดินไหวที่เกิดขึ้นก่อนเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ในบริเวณเดียวกัน แผ่นดินไหวนำจะไม่สามารถระบุได้ว่าเป็นแผ่นดินไหวนำจนกว่าจะเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ขึ้นในบริเวณเดียวกัน

แผ่นดินไหวตาม (Aftershock)

แผ่นดินไหวตาม (Aftershock) คือ แผ่นดินไหวขนาดเล็กที่เกิดขึ้นในพื้นที่ทั่วไปเดียวกันในช่วงหลายวันถึงหลายปีหลังจากเกิดแผ่นดินไหวใหญ่ขึ้นหรือ แผ่นดินไหวหลัก (Mainshock) แผ่นดินไหวตาม (Aftershock) จะค่อยๆ ถี่น้อยลงตามการปรับตัวของรอยเลื่อนที่เกิดขึ้นขณะเกิดแผ่นดินไหวหลัก (Mainshock) จากข้อมูลในอดีตพบว่า แผ่นดินไหวระดับลึก (>30 กม.) มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวตาม (Aftershock) ตามมาน้อยกว่าแผ่นดินไหวระดับตื้น

แผ่นดินไหว มีการวัดอย่างไร?

การวัดขนาดของ แผ่นดินไหว แบ่งออกเป็น 2 แบบ

  1. การวัดขนาดของแผ่นดินไหว (Magnitude) ปัจจุบันนิยมใช้ Moment Magnitude Scale – ปัจจุบันการวัดด้วย Moment Magnitude Scale (MMS) ถูกใช้แทนที่การวัดด้วยมาตราริกเตอร์ (Richter Scale) เป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยที่ Moment Magnitude Scale จะเป็นการมุ่งวัดที่พลังงานที่เหตุแผ่นดินไหวเกิดขึ้นในทางตรง
  2. การวัดความรุนแรงของแผ่นดินไหว (Intensity) ปัจจุบันนิยมใช้ มาตราเมอร์คัลลีปรับปรุง (Modified Mercalli intensity scale) – เป็นมาตราที่ถูกพัฒนาขึ้นมาจากมาตราเมอร์คัลลี ระดับความเข้มจะถูกจัดหมวดหมู่ตามระดับความรุนแรงของการสั่นโดยสังเกตจากผลกระทบที่รายงานโดยผู้สังเกตการณ์ที่ไม่ได้รับการฝึกฝน และปรับให้เข้ากับผลกระทบที่อาจพบได้ในแต่ละพื้นที่

แนะนำ App แผ่นดินไหว

Earthquake Network [iOS / Android / Huawei]

เป็นแอพเตือนแผ่นดินไหวที่สามารถแจ้งเตือน และสามารถแจ้งถึงความรู้สึกถึงแผ่นดินไหวได้ด้วย และสามารถใช้ได้บน iOS / Android / Huawei ได้ทั้งหมด

Download
Link ไปที่หน้า Download App

My Earthquake Alerts [iOS / Android]

เป็นแอพที่สามารถแสดงข้อมูลแผ่นดินไหวจากทั่วโลก และสามารถค้นหาแผ่นดินไหวย้อนหลังได้ถึงปี 1970 คล้ายกับแอพพลิเคชั่นแรก เพียงแต่อาจจะมีหน้าตาที่แตกต่างกันเล็กน้อย สามารถลองเลือกใช้ได้ตามที่ถนัด

Link สำหรับ Download App
https://www.jrustonapps.com/apps/my-earthquake-alerts

การรับมือเหตุแผ่นดินไหว

  • ตั้งสติ และคิดถึงขั้นตอนรับมือ แล้วต้องคิดถึง วิธีการเอาตัวรอด
  • ถ้าหากสามารถออกจากอาคารได้ในทันที ให้ออกไปสู่ที่โล่งแจ้ง และหลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้อาคารสูง
  • หากมีคนอยู่จำนวนมากอย่าแย่งกันออกที่ประตู เพราะจะเกิดอันตรายจากการเหยียบกัน
  • ถ้าหากออกจากอาคารไม่ได้ ควรหมอบอยู่ใต้โต๊ะ หรือ ยืนชิดติดกับเสาที่แข็งแรง
  • คลุมศีรษะไว้จนกระทั่งแผ่นดินไหวหยุดเอง ป้องกันเศษวัสดุตกหล่นใส่ศีรษะ
  • ถ้าอยู่ในตึกสูงให้อยู่ที่ชั้นเดิม อย่าใช้ลิฟต์ เพราะลิฟต์อาจจะค้างได้
  • เตรียมพร้อมเพื่อใช้ระบบเตือนภัย และระบบดับเพลิง
  • หากขับขี่ยานพาหนะอยู่ ให้รีบจอดยานพาหนะในที่โล่งแจ้ง ห้ามจอดใต้สะพาน ใต้ทางด่วน ใต้สายไฟฟ้าแรงสูง และ ถ้าหากเป็นรถยนต์ให้อยู่ภายในรถยนต์

Loading