รายชื่อ หินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่สำคัญ

รายชื่อ หินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่สำคัญเอาไว้ ข้อมูลเรื่องหินตะกอนอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

หินตะกอนอนุภาค (Clastic rocks)

หินกรวดมน (Conglomerate)

เป็นหินเนื้อหยาบเกิดจากตะกอนซึ่งเป็นหิน กรวด ทราย ที่ถูกกระแสน้ำพัดพามาอยู่รวมกันแล้วแข็งตัว สารละลายในน้ำใต้ดินทำตัวเป็นซิเมนต์ประสานให้อนุภาคใหญ่เล็กเหล่านี้ เกาะตัวกันเป็นก้อนหิน

หิน กรวดมน conglomerate clastic sedimentary rocks
ภาพหินกรวดมน ตัดขวางออกมาแสดงให้เห็นเนื้อหินด้านใน
Thanks, Siim Sepp (Sandatlas), CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

หินกรวดเหลี่ยม (Breccia)

เนื้อหยาบ เม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่กว่า 2 มม. ประกอบด้วยกรวดที่มีลักษณะเหลี่ยม อุตสาหกรรมก่อสร้าง หินประดับและการแกะสลัก

ภาพหินกรวดเหลี่ยม (Breccia)
Thanks James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินทราย (Sandstone)

เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดปานกลาง เกิดจากการทับถมตัวของทรายเป็นระยะเวลานาน มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอรตซ์ คนโบราณใช้หินทรายแกะสลัก สร้างปราสาท และทำหินลับมีด

หิน ทราย sandstone clastic sedimentary rocks
ภาพตัวอย่างหินทราย
Thanks, James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินทรายแป้ง (Siltstone)

หินทรายแป้ง (Siltstone) เป็นหินตะกอนเนื้อเศษหิน มีเนื้อละเอียด เกิดจากการทับถมตัวของทราย มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอรตซ์ เม็ดตะกอนมีขนาดระหว่าง 0.003-0.062 มม. บางครั้งหินทรายแป้งก็อาจถูกจัดกลุ่มรวมหรือ อธิบายไว้ในหินดาน เนื่องจากตะกอนทรายแป้งไม่ปรากฏเด่นชัดเมื่อเกิดร่วมกับหินดินดาน มีประโยชน์ใช้ทำหินลับมีด ใช้เป็นหินประดับ

ภาพหินทรายแป้ง ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
Thanks DORSUISOAN, CC BY-SA 4.0, via Wikimedia Commons

หินโคลน (Mudstone)

เนื้อละเอียดมาก เม็ดตะกอนมีขนาดเล็กกว่า 0.003 มม. ประกอบด้วยดินเหนียว และทรายแป้ง ไม่มีแนวแตกถี่ ปูนซีเมนต์ เซรามิก

หินโคลน (Mudstone) จาก Ponca State Park Nebraska, USA
Thanks James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินดินดาน (Shale)

เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งและอนุภาคดินเหนียวทับถมกันเป็นชั้นบาง ๆ ขนานกัน เมื่อทุบหินจะแตกตัวตามรอยชั้น (ฟอสซิลมีอยู่ในหินดินดาน) ดินเหนียวที่เกิดดินดานใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา

หิน ดินดาน shale clastic sedimentary rocks
ภาพตัวอย่างหินดินดาน (shale) จาก Mississippian, Ohio โดยเนื้อหินหลักจะเป็นสีเข้ม และอนุภาคสีเงินที่เห็นคือไมก้า (mica) และ ไพไรท์ (pyrite)
Thanks, James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินตะกอนเคมี (Chemical sedimentary rocks)

หินปูน (Limestone)

เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด หินปูนใช้ทำเป็นปูนซิเมนต์ และใช้ในการก่อสร้าง

หิน ปูน limestone chemical sedimentary rocks
ภาพตัวอย่างหินปูน (Limestone)
Thanks, James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินเชิร์ต (Chert)

หินตะกอนเนื้อแน่นแข็ง เกิดจากการตกผลึกใหม่ เนื่องจากน้ำพาสารละลายซิลิกาเข้าไปแล้วระเหยออก ทำให้เกิดผลึกซิลิกาแทนที่เนื้อหินเดิม หินเชิร์ตมักเกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เนื่องจากแพลงตอนที่มีเปลือกเป็นซิลิกาตายลง เปลือกของมันจะจมลงทับถมกัน หินเชิร์ตจึงปะปนอยู่ในหินปูน

หิน เชิร์ต chert chemical sedimentary rocks
ภาพตัวอย่างหินเชิร์ต (Chert)
Thanks, Thilo Parg, CC BY-SA 4.0, via Wikimedia Commons

หินตะกอนอินทรีย์ (Organic sedimentary rocks)

ถ่านหิน (Coal)

เกิดจากการทับถมของซากพืชที่ยังไม่เน่าเปื่อยไปหมดเนื่องจากสภาวะออกซิเจนต่ำ สภาวะเช่นนี้เกิดตามห้วยหนองคลองบึง ในแถบภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร การทับถมทำให้เกิดการแรงกดดันที่จะระเหยขับไล่น้ำและสารละลายอื่น ๆ ออกไป ยิ่งมีปริมาณคาร์บอนมากขึ้นถ่านหินจะยิ่งมีสีดำ เริ่มจาก พีต เป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินคุณภาพปานกลาง มีมากที่เหมืองแม่เมาะ จ. ลำปาง บิทูมินัส เป็นถ่านหินมีคุณภาพดีกว่าลิกไนต์ แอนทราไซต์ (Anthracite) (จัดอยู่ในกลุ่มหินแปร) เป็นถ่านหินคุณภาพสูง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี ซับบิทูมินัส เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพอยู่ระหว่างลิกไนต์กับบิทูมินัส ซึ่งพบได้ในประเทศไทยเท่านั้น

หิน ถ่านหิน coal organic sedimentary rocks
ภาพถ่านหิน (coal) ถูกถือโดยคนงานที่โรงไฟฟ้าที่เนเธอร์แลนด์
Thanks, Adrem68, CC BY-SA 4.0, via Wikimedia Commons
ภาพขั้นตอนการเกิดถ่านหินประเภทต่างๆ จากซ้ายไปขวา
พีท (Peat) > ลิกไนต์ (Lignite) > ซับบิทูมินัส (Sub-Bituminus) >บิทูมินัส (Bituminus) >แอนทราไซต์ (Anthracite)(จัดอยู่ในกลุ่มหินแปร)
Thanks Coal maturation process. The ? 13 C CH 4 signatures are based on the… | Download Scientific Diagram (researchgate.net)

Loading