หิน Archives - BoongBrief.com https://boongbrief.com/article/tag/stone/ โลก ดาราศาสตร์ และอวกาศ Sun, 24 Nov 2024 10:09:07 +0000 th hourly 1 https://boongbrief.com/wp-content/uploads/2020/02/cropped-fav-1-32x32.png หิน Archives - BoongBrief.com https://boongbrief.com/article/tag/stone/ 32 32 หินชีสต์ ต้นกำเนิดอัญมณีที่น่ารู้จัก https://boongbrief.com/article/schist-rock/ Sun, 24 Nov 2024 10:04:18 +0000 https://boongbrief.com/?p=8471 หินชีสต์ (Schist) คือ หินแปรที่มีริ้วขนาน แปรสภาพมาจากห […]

The post หินชีสต์ ต้นกำเนิดอัญมณีที่น่ารู้จัก appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินชีสต์ (Schist) คือ หินแปรที่มีริ้วขนาน แปรสภาพมาจากหินชนวน (Slate) หรือ หินกาบ มีเม็ดปานกลางถึงหยาบ เกิดจากหินตะกอน หินอัคนี และหินแปร ที่ถูกสภาวะแปรสภาพด้วยความกดดัน และความร้อนสูงภายใต้ความดันมากกว่าหินชนวน หินชีสต์ประกอบด้วยแร่ไมกา (ที่เห็นวาวๆ) เป็นหลัก บางครั้งก็มี คลอไรต์ ทัลก์ แกรไฟต์ ฮีมาไทต์ เป็นต้น ที่เรียงตัวเกือบขนานกัน เรียกว่า แนวแตกแบบหินชีสต์(schistosity) บ่อยครั้งที่ปริแยกออกตามชั้นหรือแผ่นบางซึ่งคดงอและแตกหักได้ง่าย

ลักษณะหินชีสต์

บบหินชีสต์ (schistosity) ชัดเจน หมายความ ว่าหินประกอบด้วยเม็ดแร่ขนาดกลาง ที่เรียงตัวกันเป็นแนวขนาน และลักษณะพื้นผิวของหินชีสต์ทำให้เห็นแร่องค์ประกอบ เช่น ไมกา ทัลก์ คลอไรท์ หรือกราไฟต์ และมักจะมีแร่ที่ละเอียดกว่าเช่น เฟลด์สปาร์ หรือควอตซ์ แทรกอยู่

โดยทั่วไปหินชีสต์ เกิดจากการแปรสภาพบริเวณไพศาลร่วมกับการเกิดเทือกเขา และมักจะเป็นการแปรสภาพเกรดปานกลาง
สามารถเกิดได้จากหินต้นกำเนิดหลายชนิด ทั้งหินตะกอน เช่น หินโคลน และหินอัคนี เช่น ทัฟ หินชีสต์ที่แปรสภาพจากหินโคลนที่มีปริมาณไมกาสูง เรียกว่า ไมกาชีสต์ (mica schist)

ถ้าหากมองเห็นหินต้นกำเนิด (protolith) ก็จะถูกตั้งชื่อสะท้อนตามหินเดิม เช่น schistose metasandstone ซึ่งเกิดจากการแปรสภาพจากหินทราย เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีการระบุชนิดแร่ด้วย เช่น หินชีสต์ควอตซ์-เฟลด์สปาร์-ไบโอไทต์ เป็นหินชีสต์ที่มีหินต้นกำเนิด (protolith) ที่มีไบโอไทต์ไมกา เฟลด์สปาร์ และควอตซ์ เป็นองค์ประกอบ

แนวแตกแบบหินชีสต์ (schistosity) เป็นชั้นบาง ๆ ของหินที่เกิดจากการแปรสภาพ ทำให้หินสามารถแยกออกเป็นสะเก็ดหรือแผ่นหนาน้อยกว่า 5 ถึง 10 มม. เม็ดแร่ในหินชีสต์มักมีขนาดตั้งแต่ 0.25 ถึง 2 มิลลิเมตร และมองเห็นได้ง่ายด้วยเลนส์ขยาย 10 เท่า โดยปกติเม็ดแร่ในหินชีสต์จะมีทิศทางการเรียงตัวชัดเจน

การใช้ประโยชน์จากหินชีสต์

  • ใช้ในการสร้างบ้านหรือใช้ทำผนัง เพราะมีความแข็งแรงทนทาน
  • ในออสเตรเลีย บ้านเรือนที่สร้างขึ้นโดยใช้หินชีตส์ตั้งแต่ปี 1800 ยังคงอยู่จนถึงทุกวันนี้
  • หินไมก้าชีตส์ (Mica Schist) ถูกใช้เป็นวัสดุปิดผิวเพื่อตกแต่ง สำหรับงานก่อสร้างสำหรับตกแต่งผนัง, เสา, ผสมในสี และใช้เป็นวัสดุมุงหลังคา
  • มีการใช้เป็นหินตกแต่งบนเครื่องประดับ
Talc schist 1

หินชีสต์ ไม่ได้เป็นหินที่มีการใช้ในอุตสาหกรรมมากนัก เพราะเกล็ด Mica ที่มีอยู่และความ schistosity ของมันทำให้มันเป็นหินที่ไม่แข็งแกร่ง จึงมักจะไม่เหมาะสมสำหรับใช้ในงานก่อสร้างอาคาร หรือตกแต่ง

Muscovite schist

การเป็นแหล่งกำเนิด Gem Stone

หินชีสต์นั้นมักจะเป็นแหล่งกำเนิดอัญมณีหลากหลายชนิดที่ก่อตัวขึ้นในหินแปร เช่น garnet, kyanite, tanzanite, มรกต, andalusite, sphene, ไพลิน, ทับทิม, scapolite, iolite, chrysoberyl และวัสดุอัญมณีอื่น ๆ อีกมากมายที่พบในหินชีสต์

Loading

The post หินชีสต์ ต้นกำเนิดอัญมณีที่น่ารู้จัก appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินตะกอน (Sedimetary Rock) https://boongbrief.com/article/sedimetary-rock-1/ Tue, 30 Aug 2022 03:00:56 +0000 https://boongbrief.com/?p=3463 หินตะกอนเป็นหินประเภทหนึ่งที่เกิดจากการสะสมหรือการสะสมของแร่หรืออนุภาคอินทรีย์ที่พื้นผิวโลก แล้วเกิดการประสาน (cementation) กัน การตกตะกอนเป็นชื่อเรียกรวมๆ ของกระบวนการที่ทำให้อนุภาคเหล่านี้อยู่รวมกันในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นระยะเวลายาวนาน อนุภาคที่ก่อตัวเป็นหินตะกอนเรียกว่า ตะกอน (sediment) อาจประกอบด้วยเศษทางธรณีวิทยา (แร่ธาตุ) หรือเศษซากทางชีวภาพ (สารอินทรีย์)

The post หินตะกอน (Sedimetary Rock) appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินตะกอน (Sedimentary Rock) เกิดจากอะไร

หินตะกอนเป็นหินประเภทหนึ่งที่เกิดจากการสะสมหรือการสะสมของแร่หรืออนุภาคอินทรีย์ที่พื้นผิวโลก แล้วเกิดการประสาน (cementation) กัน การตกตะกอนเป็นชื่อเรียกรวมๆ ของกระบวนการที่ทำให้อนุภาคเหล่านี้อยู่รวมกันในพื้นที่ใดพื้นที่หนึ่งเป็นระยะเวลายาวนาน อนุภาคที่ก่อตัวเป็นหินตะกอนเรียกว่า ตะกอน (sediment) อาจประกอบด้วยเศษทางธรณีวิทยา (แร่ธาตุ) หรือเศษซากทางชีวภาพ (สารอินทรีย์)

อ่านเรื่องวัฎจักรหิน (Rock Cycle) และประเภทของหิน

เศษซากทางธรณีวิทยา (geological detritus) เกิดจากการผุกร่อน และการกัดเซาะของหินที่มีอยู่เดิม หรือจากการแข็งตัวของก้อนลาวาหลอมเหลวที่ปะทุจากภูเขาไฟเศษซากทางธรณีวิทยาถูกพัดพาไปยังสถานที่สะสมโดยน้ำ ลม น้ำแข็งหรือการเคลื่อนที่ของมวลซึ่ง เรียกรวมๆ ว่า ตัวแทนของการเกลี่ยผิวดิน (agents of denudation)

เศษซากทางชีวภาพ (biological detritus) เกิดจากร่างกายและส่วนต่าง ๆ (ส่วนใหญ่เป็นเปลือกหอย) ของสิ่งมีชีวิตในน้ำที่ตายแล้ว หรืออุจจาระของพวกมัน แขวนลอยอยู่ในน้ำและค่อยๆ กองกันที่ก้นแหล่งน้ำ การตกตะกอนอาจเกิดขึ้นจากแร่ธาตุที่ละลายในน้ำเกิดการตกตะกอนลงมาด้วย

การจำแนกประเภท หินตะกอน (Sedimentary Rock) ตามจำแนกหินตะกอนตามลักษณะการเกิด

หินตะกอนสามารถแบ่งออกได้เป็นสี่กลุ่ม ตามกระบวนการที่มีผลกับการก่อตัว

หินตะกอนอนุภาค (Clastic rocks)

หินตะกอนอนุภาคประกอบด้วยเศษหิน (clast) ที่ประสานเข้าด้วยกันเศษหิน (clast) มักเป็นเศษของควอตซ์ เฟลด์สปาร์ แร่ธาตุจากดินเหนียว (clay minerals) หรือไมกา โดยที่การตกตะกอนอาจมีแร่ชนิดใดก็ได้ และหินตะกอนอาจจะประกอบด้วยแร่ธาตุมากกว่าหนึ่งชนิดก็เป็นได้

ภาพตัวอย่างหินทราย (sandstone)
Thanks, I, Jonathan Zander, CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

หินตะกอนอนุภาคแบ่งตามขนาดอนุภาคเด่น นักธรณีวิทยาส่วนใหญ่ใช้มาตราส่วน Udden-Wentworth ขนาดอนุภาค และแบ่งตะกอนที่ยังไม่รวมตัวออกเป็นสามส่วน:
กรวด (gravel) (เส้นผ่านศูนย์กลางใหญ่กว่า 2 มม.)
ทราย (sand) (เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.0625 ถึง 2 มม.)
โคลน (mud) (เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 0.0625 มม.)

โคลนยังสามารถแบ่งออกเป็น
ทรายแป้ง (silt) (เส้นผ่านศูนย์กลาง 0.0625 ถึง 0.004 มม.)
ดินเหนียว (clay) (เส้นผ่านศูนย์กลางเล็กกว่า 0.004 มม.)

การจำแนกประเภทของหินตะกอนอนุภาคจะสอดคล้องกับรูปแบบนี้
หินกรวดมน (conglomerate) และ หินกรวดเหลี่ยม (breccias) ส่วนใหญ่เป็นกรวด
หินทราย (sandstone) ส่วนใหญ่เป็นทราย และหินโคลน (mudstone) ส่วนใหญ่เป็นโคลน

หินตะกอนอินทรีย์ (Organic sedimentary rocks)

หินตะกอนอินทรีย์เกิดจาก สิ่งมีชีวิตใช้สารในอากาศ หรือน้ำสร้างเนื้อเยื่อ แล้วสิ่งมีชีวิตตายลงทับถม ตัวอย่างเช่น

  • หินปูน (limestone)ส่วนใหญ่เกิดจากโครงร่างแข็งของสิ่งมีชีวิตที่เป็นปูน เช่น ปะการัง หอย และ ฟอรามินิเฟอร์รา (foraminifera)
  • ถ่านหิน (coal) เกิดขึ้นจากพืชที่กักเก็บคาร์บอนจากบรรยากาศและรวมเข้ากับองค์ประกอบอื่นๆ เพื่อสร้างเนื้อเยื่อของพืช
  • หินเชิร์ต (chert) เกิดจากการสะสมของโครงร่างแข็งที่เป็นสารกลุ่มซิลิกาของสิ่งมีชีวิตขนาดเล็ก เช่น เรดิโอลาเรีย (radiolaria) และไดอะตอม (diatom)
ผาหินปูนที่ชายฝั่งด้านตะวันออกของเกาะตะรุเตา
กำเนิดในยุคออร์โดวิเชียนโบราณ (450 ล้านปี) มีแหล่งหินปูนอายุ 450 ล้านปีและแหล่งแร่ไทรโลไบต์จำนวนมาก
สตูล, ประเทศไทย.
Thanks. © Vyacheslav Argenberg / http://www.vascoplanet.com/, CC BY 4.0, via Wikimedia Commons

หินตะกอนเคมี (Chemical sedimentary rocks)

หินตะกอนเคมีก่อตัวขึ้นเมื่อแร่ธาตุในสารละลายมีความอิ่มตัวยิ่งยวดและตกตะกอนโดยไม่มีกระบวนการของสิ่งมีชีวิตมาเกี่ยวข้อง
หินตะกอนเคมีทั่วไป ได้แก่ หินปูน และหินที่ประกอบด้วยแร่ธาตุระเหย เช่น เฮไลต์ (halite) (เกลือสินเธาว์) ซิลไวต์(sylvite) แบไรท์ (baryte) และยิปซั่ม (gypsum)

หินตะกอน “อื่นๆ” ที่เกิดจากผลกระทบ ภูเขาไฟ และอื่นๆ กระบวนการย่อย

หมวดหมู่เบ็ดเตล็ดที่สี่นี้รวมถึง ทัฟฟ์ภูเขาไฟและเบร็กเซียภูเขาไฟ (volcanic breccias) ที่เกิดขึ้นจากการทับถมของเศษลาวาที่ปะทุจากภูเขาไฟ และเบร็กเซียที่เกิดจากอุกกาบาตตก

การจำแนกประเภท หินตะกอน (Sedimentary Rock) ตามองค์ประกอบ

หินตะกอนสามารถแบ่งออกเป็นกลุ่มสารประกอบตามแร่วิทยา :

  • หินตะกอนซิลิซิคลาสติก (siliciclastic sedimentary rock) ประกอบด้วยแร่ธาตุซิลิเกตเป็นหลัก แบ่งออกเป็น หินกรวดมน และเบรเซียส หินทราย และหินโคลน
  • หินตะกอนคาร์บอเนต (carbonate sedimentary rock) ประกอบด้วยแคลไซต์ (calcite) (rhombohedral CaCO3), อาราโกไนท์ (aragonite) (orthorhombic CaCO3), โดโลไมต์ (dolomite) (CaMg(CO3)2) และแร่ธาตุคาร์บอเนตอื่น ๆ ที่มีไอออน CO2−3 ตัวได้แก่ หินปูนและหินโดโลไมต์
  • หินตะกอนระเหย (evaporite sedimentary rock) ประกอบด้วยแร่ธาตุที่ตกผลึกจากการระเหยของน้ำ แร่ธาตุระเหยที่พบบ่อยที่สุดคือคาร์บอเนต (แคลไซต์และอื่น ๆ ขึ้นอยู่กับ CO2−3), คลอไรด์ (เฮไลต์และอื่น ๆ ที่สร้างจาก Cl−) และซัลเฟต (ยิปซั่มและอื่น ๆ ที่ประกอบด้วย SO2-4) หินตะกอนระเหยที่พบได้ทั่วไป คือ เฮไลต์ (เกลือสินเธาว์) ยิปซั่ม และแอนไฮไดรต์ (anhydrite)
  • หินตะกอนอุดมสารอินทรีย์ (organic-rich sedimentary rock) ประกอบด้วยสารอินทรีย์จำนวนมาก โดยทั่วไปมักมีคาร์บอนอินทรีย์รวมเกินกว่า 3% ได้แก่ ถ่านหิน หินน้ำมัน ตลอดจนแหล่งหินน้ำมัน (oil shale) และก๊าซธรรมชาติ
  • หินตะกอนทราย (siliceous sedimentary rocks) ประกอบด้วยซิลิกา(SiO2) เกือบทั้งหมด โดยทั่วไปแล้วจะเป็นเชิร์ต (chert) โอปอล (opal) โมรา (chalcedony) หรือผลึกขนาดเล็กอื่นๆ
  • หินตะกอนอุดมธาตุเหล็ก (iron-rich sedimentary rock) ประกอบด้วยเหล็กมากกว่า 15% รูปแบบที่พบมากที่สุดคือการก่อตัวของเหล็กแถบ (banded iron)และหินเหล็ก (ironstones)
  • หินตะกอนฟอสเฟต (phosphatic sedimentary rock) ประกอบด้วยแร่ธาตุฟอสเฟตและมีฟอสฟอรัสมากกว่า 6.5% ได้แก่ การสะสมของก้อนฟอสเฟต และหินโคลนฟอสฟาติก (phosphatic mudrocks)

การพัดพา การสะสมตัวตะกอน และการแปรสภาพเป็นหินตะกอน

การพัดพา และการสะสมตัวของตะกอน

หินตะกอนก่อตัวขึ้นเมื่อตะกอนตกตะกอนจากอากาศ น้ำแข็ง ลม แรงโน้มถ่วง หรือกระแสน้ำที่พัดพาอนุภาคแขวนลอย ตะกอนมักจะเกิดขึ้นจากหินเดิมผุพัง และการเกิดการกัดเซาะทำให้หินแตกออกเป็นชิ้นเล็กลง แล้วจากนั้นวัสดุจะถูกพัดพา เคลื่อนย้ายจากพื้นที่ต้นทางไปยังแหล่งสะสมตัว ประเภทของตะกอนที่ถูกพัดพาไปจะขึ้นกับลักษณะทางธรณีวิทยาในบริเวณนั้น ธรรมชาติของหินตะกอนจึงไม่เพียงขึ้นอยู่กับปริมาณตะกอนเท่านั้น แต่ยังขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมการสะสมของตะกอนที่มันก่อตัวขึ้นด้วย

การแปรสภาพเป็นหินตะกอน – ไดอาเจเนซิส (diagenesis)

ในขณะที่ตะกอนสะสมตัวในสิ่งแวดล้อม ตะกอนที่มีอายุมากกว่าจะถูกฝังอยู่ข้างใต้ตะกอนที่อายุน้อยกว่า และพวกมันก็ผ่านกระบวนการไดอะเจเนซิส ไดอะเจเนซิส (diagenesis) คือ กระบวนการเปลี่ยนแปลงหลังการทับถมของตะกอนจนกระทั่งกลายเป็นหิน ซึ่งรวมถึงการเปลี่ยนแปลงทางเคมี กายภาพ ชีวภาพทั้งหมด การบดอัดและการกลายเป็นหินของตะกอน แต่ไม่รวมการผุกร่อนของพื้นผิวที่ตกตะกอนหลังจากการเริ่มสะสมตัว

แผนภาพกระบวนการ ไดอาเจเนซิส diagenesis
แผนภาพกระบวนการไดอาเจเนซิส
Thanks. Encyclopedia of Geochemistry 

ในช่วงระยะเริ่มต้นของไดอาเจเนซิส เรียกว่า อีโอเจเนซิส (eogenesis) เกิดขึ้นที่ระดับตื้น เพียง 20-30 เมตร และมีลักษณะเฉพาะคือ การเปลี่ยนแปลงทางชีวภาพ และแร่วิทยาในตะกอน โดยมีการบดอัดเพียงเล็กน้อย เหล็กออกไซด์สีแดงที่ทำให้เกิดชั้นหินทรายสีแดงมักเกิดสีขึ้นในกระบวนการอีโอเจเนซิส (eogenesis) กระบวนการทางชีวเคมีบางอย่าง เช่น กิจกรรมของแบคทีเรีย สามารถส่งผลกระทบต่อแร่ธาตุในหิน และดังนั้นจึงถูกมองว่าเป็นส่วนหนึ่งของ ไดอะเจเนซิส (diagenesis) ด้วย

ส่วนที่ฝังลึกกว่านั้น จะเกิด มีโซเจเนซิส (mesogenesis) เป็นกระบวนการที่เกิดการบดอัดและการทำให้เป็นหิน (lithification) ส่วนใหญ่ การบดอัดเกิดขึ้นเมื่อตะกอนอยู่ภายใต้แรงกดดันที่เพิ่มขึ้น (lithostatic) จากตะกอนที่อยู่ด้านบน อนุภาคตะกอนเคลื่อนตัวจัดเรียงชิดกันมากขึ้น เม็ดแร่ที่มีความเหนียว เช่น ไมกา จะเสียรูป และมีรูพรุนเล็กลง ทำให้ปกติตะกอนที่มักจะอิ่มตัวด้วยน้ำใต้ดินหรือน้ำทะเลเมื่อถูกสะสมในตอนแรก ก็จะถูกขับของเหลวออกในขั้นตอนนี้ นอกเหนือจากการบดอัดทางกายภาพแล้ว การบดอัดทางเคมีอาจเกิดขึ้นจากสารละลายแรงดัน (pressure solution) จุดสัมผัสระหว่างอนุภาคอยู่ภายใต้ความเครียดสูงที่สุด แร่ธาตุที่ความเครียดสูงจะละลายได้ดีกว่าส่วนอื่นๆ ของอนุภาค ทำให้จุดสัมผัสระหว่างอนุภาคจะถูกละลายออกไปทำให้อนุภาคชิดกันมากขึ้น ความดันและอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นจะทำให้เกิดปฏิกิริยาเคมีเพิ่มเติม เช่น ปฏิกิริยาที่เปลี่ยนสารอินทรีย์กลายเป็นลิกไนต์หรือถ่านหิน

การทำให้เป็นหิน (lithification) เกิดต่อเนื่องกับการบดอัด เนื่องจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้นที่ความลึกมากขึ้นเร่งการตกตะกอนของซีเมนต์ (cement) ที่เชื่อมอนุภาคเข้าด้วยกัน สารละลายแรงดัน (pressure solution) ยังมีส่วนช่วยในการประสาน (cementation) เนื่องจากแร่ธาตุที่ละลายจากจุดสัมผัสจะสะสมในช่องว่างของรูพรุนที่ยังเหลืออยู่ และทำให้เกิดการประสานกัน ส่งผลให้ความพรุนลดลง และทำให้หินแน่นขึ้น

หินตะกอน pressure solution
ตัวอย่างสารละลายแรงดัน (pressure solution) ในหินตะกอนอนุภาค ตัวเนื้ออนุภาคส่วนที่ละลายในจุดที่อนุภาคสัมผัสกัน หลังจากนั้นจะเกิดการตกผลึกใหม่จากสารละลาย และทำหน้าที่เป็นซีเมนต์เติมในช่องว่าง การอัดตัวแน่นทำให้ของเหลวไหลจากจุดที่มีความเค้นสูงไปจุดที่ความเค้นต่ำกว่า หินตะกอนจึงมีความแข็งและอัดแน่นมากขึ้น ทราย (sand) จึงกลายเป็นหินทราย (sandstone) ได้ด้วยวิธีนี้
สนใจอ่านเรื่อง pressure solution อ่านต่อได้ที่นี่
Thanks, Woudloper, Public domain, via Wikimedia Commons

เทโลเจเนซิส (telogenesis) เป็นขั้นตอนที่สามและขั้นสุดท้ายของไดอาเจเนซิส คือ การยกตัวขึ้นสู่พื้นผิวจากสาเหตุบางอย่าง เช่น การกัดเซาะผิวหน้า หรือการยกตัวขึ้นของชั้นหินทำให้หินตะกอนมีความลึกน้อยลง หรือโผล่มาบนผิวดินอีกครั้ง ก็อาจจะเกิดกระบวนการต่อไปอีก เช่น การสัมผัสกับน้ำอีกทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงเพิ่มเติมในหินตะกอน การชะล้างซีเมนต์บางส่วนออกทำให้เกิดรูพรุนอีกครั้ง

อีกส่วนหนึ่งที่อยู่ด้านล่าง เมื่อหินตะกอนมีอุณหภูมิและความดันสูงเพียงพอ ก็อาจเป็นกระบวนการที่ก่อตัวเป็นหินแปรได้อีกด้วย

Loading

The post หินตะกอน (Sedimetary Rock) appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินไรโอไลต์ (Rhyolite) https://boongbrief.com/article/rhyolite-rock/ Fri, 01 Jul 2022 04:14:32 +0000 https://boongbrief.com/?p=2743 หินไรโอไลต์ (Rhyolite) เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) ประเภทหินเฟลสิค (felsic rock) มีเนื้อละเอียดแต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีอ่อน เช่น สีขาว สีเทาขาว ชมพูซีด บางครั้งอาจจะพบแร่ควอตซ์ใส อยู่ในเนื้อหิน

The post หินไรโอไลต์ (Rhyolite) appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินไรโอไลต์ (Rhyolite) เป็นหินที่ถูกมนุษย์ใช้ประโยชน์มายาวนาน และเป็นหินที่กำเนิดจากการปะทุของภูเขาไฟ มีลักษณะที่แตกต่างจากหินแกรนิตชัดเจน แต่กลับมีองค์ประกอบแร่เหมือนกัน จึงน่าศึกษาว่ามีความเป็นไปอย่างไร

หินไรโอไลต์มีลักษณะอย่างไร?

หินไรโอไลต์ เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) ประเภทหินเฟลสิค (felsic rock) มีเนื้อละเอียดแต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีอ่อน เช่น สีขาว สีเทาขาว ชมพูซีด บางครั้งอาจจะพบแร่ควอตซ์ใส อยู่ในเนื้อหิน

หินไรโอไลต์
ตัวอย่างหินไรโอไลต์
Jpr46, Public domain, via Wikimedia Commons
หินไรโอไลต์
ตัวอย่างหินไรโอไลต์สีชมพู
Michael C. Rygel, CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

หินไรโอไลต์ เป็นหินอัคนีพุ ซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็กมีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต ซึ่งเกิดจากหินหนืดที่มีองค์ประกอบซิลิกาสูง ซึ่งปะทุออกมาจากปล่องภูเขาไฟแล้วเย็นลงอย่างรวดเร็ว โดยทั่วไปจะมีสีอ่อนเนื่องจากมีแร่ธาตุมาฟิค (mafic) ต่ำ และโดยทั่วไปจะมีเนื้อละเอียดมาก (aphanitic) หรือเป็นแก้ว (glassy)

หากสนใจประเภทการปะทุของภูเขาไฟ อ่านต่อได้…ที่นี่

องค์ประกอบของ หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

หินไรโอไลต์ บน แผนภาพ QAPF
แผนภาพการจำแนกประเภทหิน QAPF
Kent G. Budge, CC0, via Wikimedia Commons

หินอัคนีพุจะถูกจัดเป็นหินไรโอไลต์เมื่อมีสัดส่วนของควอตซ์ 20% ถึง 60% โดยปริมาตรของ ควอตซ์ อัลคาไลเฟลด์สปาร์ และเพลจิโอเคลส รวมกัน ตามแผนภาพการจำแนกหิน QAPF และมีอัลคาไลเฟลด์สปาร์ 35% ถึง 90% ของปริมาณเฟลด์สปาร์ทั้งหมด และอาจมีแร่ไบโอไทต์ และฮอร์นเบลนด์ได้ด้วย

หินไรโอไลต์ ตำแหน่ง แผนภาพ TAS
แผนภาพการจำแนกประเภทหิน TAS
Kent G. Budge, CC0, via Wikimedia Commons

หินไรโอไลต์ ไม่มีเฟลด์สปาทอยด์ ทำให้ไรโอไลต์ มีสัดส่วนของแร่เทียบเท่าหินแกรนิต อย่างไรก็ตาม IUGS แนะนำให้จำแนกหินภูเขาไฟ โดยพิจารณาจากองค์ประกอบแร่เมื่อใดก็ตามที่เป็นไปได้ หินภูเขาไฟมักจะมีลักษณะเป็นเนื้อแก้วหรือมีเนื้อละเอียดมากจนไม่สามารถระบุแร่ธาตุได้ และควรใช้การจำแนกทางเคมีตาม เพื่อหาปริมาณของ ซิลิกาและโลหะอัลคาไลออกไซด์ (K2O บวก Na2O) หินไรโอไลต์มีซิลิกาและออกไซด์ของโลหะอัลคาไลอยู่มาก ทำให้หินไรโอไลต์ถูกจัดอยู่ในช่อง R ของแผนภาพการจำแนกหินแบบ TAS บางครั้งมีเฟลด์สปาร์อัลคาไล (alkali feldspar) อยู่ในรูปของฟีโนคริสต์ (phenocrysts) Plagioclase มักมีโซเดียมสูง (oligoclase หรือ andesine)

กระบวนการเกิด หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

เกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วเมื่อหินหนืดขึ้นมาอยู่บนผิวโลก

การใช้งาน และประโยชน์ของหินไรโอไลต์

ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทำถนนหินโรยทางรถไฟ ทำครก หินประดับสวน และทำเครื่องประดับจากหิน

แหล่งที่พบหินไรโอไลต์ในประเทศไทย

จังหวัดสระบุรี ลพบุรี เพชรบุรี และจังหวัดแพร่

Loading

The post หินไรโอไลต์ (Rhyolite) appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินแอนดีไซต์ (Andesite) https://boongbrief.com/article/andesite-rock/ Thu, 30 Jun 2022 06:30:35 +0000 https://boongbrief.com/?p=2734 หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุที่มีเนื้อละเอียด […]

The post หินแอนดีไซต์ (Andesite) appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุที่มีเนื้อละเอียด และเป็นส่วนหนึ่งของวัฎจักรหิน และถูกมนุษย์นำมาใช้ประโยชน์มานาน ข้อมูลของหินแอนดีไซต์ (Andesite) มีตามรายละเอียดด้านล่าง

ลักษณะหินแอนดีไซต์

หินแอนดีไซต์ (Andesite) ประเภทหินอินเตอร์มีเดียต (Intermediate rock) เป็นหินที่เนื้อแน่นทึบ เป็นเนื้อละเอียด (aphanitic) ถึงปานกลาง มีสีไม่เข้มไม่อ่อน มีดัชนีสี (color index) น้อยกว่า 35 เป็นไปได้หลายสีเช่น ม่วง เขียว เทาดำ แร่หลักเป็นแร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้มอย่างแอมฟิโบล (Amphibole) ส่วนแร่รอง เช่น ไพรอกซีน (pyroxene) ไบโอไทต์ (biotite) เป็นต้น

หินแอนดีไซต์ (Andesite) อาจเป็นเนื้อดอก (porphyritic) หรือมีผลึกสองขนาด ซึ่งมีผลึกขนาดใหญ่ (phenocrysts) ของแพลจิโอเคลส ที่เกิดขึ้นก่อนหินหนืดจะปะทุขึ้นสู่ผิวโลก ฝังอยู่ในเมทริกซ์เนื้อละเอียดกว่า พบผลึกขนาดใหญ่ของไพรอกซีน (pyroxene) หรือฮอร์นเบลนด์ (hornblende) ได้ทั่วไป แร่ธาตุพวกนี้มีจุดหลอมเหลวสูงที่สุดของแร่ธาตุทั่วไปที่สามารถตกผลึกจากการหลอมเหลว ดังนั้นจึงเป็นกลุ่มแร่กลุ่มแรกที่ตกผลึก

การจำแนกประเภทของแอนดีไซต์สามารถแบ่งกลุ่มย่อยได้จากปริมาณของผลึกขนาดใหญ่ (phenocrysts) เช่น ถ้าฮอร์นเบลนด์เป็นแร่หลักในฟีโนคริสต์ หินนี้จะถูกจัดเป็น ฮอร์นเบลนด์แอนดีไซต์ (hornblende andesite)

องค์ประกอบของหินแอนดีไซต์

แผนภาพการจำแนกประเภทหิน QAPF
Kent G. Budge, CC0, via Wikimedia Commons

หินแอนดีไซต์ (Andesite) มีซิลิกาอยู่ปานกลางและมีโลหะอัลคาไล (alkali metal) เล็กน้อย เป็นแร่ควอทซ์น้อยกว่า 20% และเฟลด์สปาทอยด์ (feldspathoid) น้อยกว่า 10% โดยปริมาตร โดยอย่างน้อย 65% ของเฟลด์สปาร์เป็นแพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ (plagioclase feldspar)
ด้วยเหตุนี้ทำให้หินแอนดีไซต์ (Andesite) อยู่ในช่องของ บะซอลต์/แอนดีไซต์ในไดอะแกรม QAPF

หินแอนดีไซต์ (Andesite) แตกต่างจากหินบะซอลต์ชัดเจนจากปริมาณซิลิกาที่มีมากกว่า 52% อย่างไรก็ตามการระบุองค์ประกอบแร่ของหินภูเขาไฟอาจจะเป็นเรื่องยากเพราะมีเนื้อละเอียดมาก ในทางเคมีหินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินภูเขาไฟที่มีปริมาณซิลิกา 57% ถึง 63% และไม่เกิน 6% ออกไซด์ของโลหะอัลคาไล ทำให้หินแอนดีไซต์ (Andesite) ถูกจัดอยู่ในในช่อง O2 ของการจำแนกแบบ TAS

แผนภาพการจำแนกประเภทหิน TAS
Kent G. Budge, CC0, via Wikimedia Commons

หินบะซอลติกแอนดีไซต์ (basaltic andesite) ที่มีปริมาณซิลิกา 52% ถึง 57% เป็นตัวแทนจาก O1 ของการแบ่งกลุ่มแบบ TAS แต่ไม่ได้ถูกแบ่งประเภทหินชัดเจนในการแบ่งประเภทแบบ QAPF

กระบวนการเกิดหินแอนดีไซต์

หินแอนดีไซต์เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืดอย่างรวดเร็วเมื่อหินหนืดขึ้นมาอยู่บนผิวโลก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้แมกมาขึ้นสู่ผิวโลกคือ การเกิดการปะทุของภูเขาไฟ(volcano eruption) จัดเป็นกลุ่ม หินอัคนีพุ (Extrusive Igneous Rock)

ภาพการปะทุของภูเขาไฟพินาตูโบ (Pinatubo) ที่ฟิลิปปินส์เมื่อ วันที่ 12 มิถุนายน 1991
Dave Harlow, United States Geological Survey, Public domain, via Wikimedia Commons

การใช้งาน และประโยชน์ของหินแอนดีไซต์

ใช้ในงานก่อสร้าง ทำถนน ทางรถไฟ ทำหินเกล็ด เครื่องประดับ ครกหิน

แหล่งที่พบในประเทศไทย

ตามขอบที่ราบสูงโคราช เช่น จังหวัดนครราชสีมา สระบุรี เพชรบูรณ์ ลพบุรี นครนายก แพร่ และจังหวัดลำปาง ทางด้านทิศตะวันออก จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดตราด

Loading

The post หินแอนดีไซต์ (Andesite) appeared first on BoongBrief.com.

]]>
รายชื่อ หินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่สำคัญ https://boongbrief.com/article/sedimentary-rock-list/ Thu, 23 Jun 2022 02:09:45 +0000 https://boongbrief.com/?p=2623 รายชื่อ หินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่สำคัญเอาไว้ ข้อม […]

The post รายชื่อ หินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่สำคัญ appeared first on BoongBrief.com.

]]>
รายชื่อ หินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่สำคัญเอาไว้ ข้อมูลเรื่องหินตะกอนอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่

หินตะกอนอนุภาค (Clastic rocks)

หินกรวดมน (Conglomerate)

เป็นหินเนื้อหยาบเกิดจากตะกอนซึ่งเป็นหิน กรวด ทราย ที่ถูกกระแสน้ำพัดพามาอยู่รวมกันแล้วแข็งตัว สารละลายในน้ำใต้ดินทำตัวเป็นซิเมนต์ประสานให้อนุภาคใหญ่เล็กเหล่านี้ เกาะตัวกันเป็นก้อนหิน

หิน กรวดมน conglomerate clastic sedimentary rocks
ภาพหินกรวดมน ตัดขวางออกมาแสดงให้เห็นเนื้อหินด้านใน
Thanks, Siim Sepp (Sandatlas), CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

หินกรวดเหลี่ยม (Breccia)

เนื้อหยาบ เม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่กว่า 2 มม. ประกอบด้วยกรวดที่มีลักษณะเหลี่ยม อุตสาหกรรมก่อสร้าง หินประดับและการแกะสลัก

ภาพหินกรวดเหลี่ยม (Breccia)
Thanks James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินทราย (Sandstone)

เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดปานกลาง เกิดจากการทับถมตัวของทรายเป็นระยะเวลานาน มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอรตซ์ คนโบราณใช้หินทรายแกะสลัก สร้างปราสาท และทำหินลับมีด

หิน ทราย sandstone clastic sedimentary rocks
ภาพตัวอย่างหินทราย
Thanks, James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินทรายแป้ง (Siltstone)

หินทรายแป้ง (Siltstone) เป็นหินตะกอนเนื้อเศษหิน มีเนื้อละเอียด เกิดจากการทับถมตัวของทราย มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอรตซ์ เม็ดตะกอนมีขนาดระหว่าง 0.003-0.062 มม. บางครั้งหินทรายแป้งก็อาจถูกจัดกลุ่มรวมหรือ อธิบายไว้ในหินดาน เนื่องจากตะกอนทรายแป้งไม่ปรากฏเด่นชัดเมื่อเกิดร่วมกับหินดินดาน มีประโยชน์ใช้ทำหินลับมีด ใช้เป็นหินประดับ

ภาพหินทรายแป้ง ตั้งแสดงในพิพิธภัณฑ์ธรณีวิทยา
Thanks DORSUISOAN, CC BY-SA 4.0, via Wikimedia Commons

หินโคลน (Mudstone)

เนื้อละเอียดมาก เม็ดตะกอนมีขนาดเล็กกว่า 0.003 มม. ประกอบด้วยดินเหนียว และทรายแป้ง ไม่มีแนวแตกถี่ ปูนซีเมนต์ เซรามิก

หินโคลน (Mudstone) จาก Ponca State Park Nebraska, USA
Thanks James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินดินดาน (Shale)

เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งและอนุภาคดินเหนียวทับถมกันเป็นชั้นบาง ๆ ขนานกัน เมื่อทุบหินจะแตกตัวตามรอยชั้น (ฟอสซิลมีอยู่ในหินดินดาน) ดินเหนียวที่เกิดดินดานใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา

หิน ดินดาน shale clastic sedimentary rocks
ภาพตัวอย่างหินดินดาน (shale) จาก Mississippian, Ohio โดยเนื้อหินหลักจะเป็นสีเข้ม และอนุภาคสีเงินที่เห็นคือไมก้า (mica) และ ไพไรท์ (pyrite)
Thanks, James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินตะกอนเคมี (Chemical sedimentary rocks)

หินปูน (Limestone)

เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด หินปูนใช้ทำเป็นปูนซิเมนต์ และใช้ในการก่อสร้าง

หิน ปูน limestone chemical sedimentary rocks
ภาพตัวอย่างหินปูน (Limestone)
Thanks, James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินเชิร์ต (Chert)

หินตะกอนเนื้อแน่นแข็ง เกิดจากการตกผลึกใหม่ เนื่องจากน้ำพาสารละลายซิลิกาเข้าไปแล้วระเหยออก ทำให้เกิดผลึกซิลิกาแทนที่เนื้อหินเดิม หินเชิร์ตมักเกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เนื่องจากแพลงตอนที่มีเปลือกเป็นซิลิกาตายลง เปลือกของมันจะจมลงทับถมกัน หินเชิร์ตจึงปะปนอยู่ในหินปูน

หิน เชิร์ต chert chemical sedimentary rocks
ภาพตัวอย่างหินเชิร์ต (Chert)
Thanks, Thilo Parg, CC BY-SA 4.0, via Wikimedia Commons

หินตะกอนอินทรีย์ (Organic sedimentary rocks)

ถ่านหิน (Coal)

เกิดจากการทับถมของซากพืชที่ยังไม่เน่าเปื่อยไปหมดเนื่องจากสภาวะออกซิเจนต่ำ สภาวะเช่นนี้เกิดตามห้วยหนองคลองบึง ในแถบภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร การทับถมทำให้เกิดการแรงกดดันที่จะระเหยขับไล่น้ำและสารละลายอื่น ๆ ออกไป ยิ่งมีปริมาณคาร์บอนมากขึ้นถ่านหินจะยิ่งมีสีดำ เริ่มจาก พีต เป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินคุณภาพปานกลาง มีมากที่เหมืองแม่เมาะ จ. ลำปาง บิทูมินัส เป็นถ่านหินมีคุณภาพดีกว่าลิกไนต์ แอนทราไซต์ (Anthracite) (จัดอยู่ในกลุ่มหินแปร) เป็นถ่านหินคุณภาพสูง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี ซับบิทูมินัส เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพอยู่ระหว่างลิกไนต์กับบิทูมินัส ซึ่งพบได้ในประเทศไทยเท่านั้น

หิน ถ่านหิน coal organic sedimentary rocks
ภาพถ่านหิน (coal) ถูกถือโดยคนงานที่โรงไฟฟ้าที่เนเธอร์แลนด์
Thanks, Adrem68, CC BY-SA 4.0, via Wikimedia Commons
ภาพขั้นตอนการเกิดถ่านหินประเภทต่างๆ จากซ้ายไปขวา
พีท (Peat) > ลิกไนต์ (Lignite) > ซับบิทูมินัส (Sub-Bituminus) >บิทูมินัส (Bituminus) >แอนทราไซต์ (Anthracite)(จัดอยู่ในกลุ่มหินแปร)
Thanks Coal maturation process. The ? 13 C CH 4 signatures are based on the… | Download Scientific Diagram (researchgate.net)

Loading

The post รายชื่อ หินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่สำคัญ appeared first on BoongBrief.com.

]]>
รายชื่อ หินอัคนี (Igneous Rock) สำคัญ https://boongbrief.com/article/igneous-rock-list/ Thu, 23 Jun 2022 01:07:15 +0000 https://boongbrief.com/?p=2619 หินอัคนี (Igneous Rock) มีความหลากหลายมาก และมีลักษณะเด่นขึ้นกับหลายปัจจัยในการเกิด แต่ละชนิดมีจุดเด่นแตกต่างกัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน

The post รายชื่อ หินอัคนี (Igneous Rock) สำคัญ appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินอัคนี (Igneous Rock) มีความหลากหลายมาก และมีลักษณะเด่นขึ้นกับหลายปัจจัยในการเกิด แต่ละชนิดมีจุดเด่นแตกต่างกัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน ด้านล่างคือรายการของหินอัคนีหลักๆ ทั้งหมด หินอัคนีเป็นหนึ่งใน วัฎจักรหิน (Rock Cycle) อ่านต่อได้ที่นี่

หินแกรนิต (Granite)

หิน หินอัคนี หินแกรนิต ธรณีวิทยา
ภาพตัวอย่างหินแกรนิต
ขอบคุณภาพ James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินแกรนิต(Granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Rock) อยู่ในกลุ่ม หินเฟลสิค (felsic rock) มีสีจางพบได้ทั่วไปเป็นปกติ หินแกรนิตมีเนื้อขนาดปานกลางถึงเนื้อหยาบ บางครั้งจะพบผลึกเดี่ยวๆบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ (groundmass) เป็นหินอัคนีแทรกซอนที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อหยาบซึ่งประกอบด้วยผลึกขนาดใหญ่ของแร่ควอรตซ์สีเทาใส แร่เฟลด์สปาร์สีขาวขุ่น และแร่ฮอร์นเบลนด์ หินแกรนิตมีเนื้อแน่นเสมอ แข็ง แรงทนทาน ดังนั้นจึงถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้าง หรือเป็นวัสดุปิดผิวที่ทนทานกันอย่างแพร่หลาย

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากหินแกรนิต ในการใช้ในการประดับตกแต่ง อาคาร สิ่งปลูกสร้าง นิยมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ในลักษณะที่ต้องการความงดงาม หรูหราให้แก่ที่อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะนำมาปูพื้นอาคาร, ผนัง, ขั้นบันได, เคาน์เตอร์ครัว, เคาน์เตอร์ห้องน้ำ เป็นต้น และด้วยสมบัติของหินแกรนิตที่มีความแข็งแรงมาก ชาวบ้านจึงใช้ทำครกหิน เช่น ครกอ่างศิลา

หินบะซอลต์ (Basalt)

หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) ประเภทหินเมฟิก (Mafic rock) มีเนื้อละเอียดเพราะเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วบนผิวโลก มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีน และแร่เฟลด์สปาร์ เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย ลักษณะเนื้อของหินบะซอลต์ มี 3 รูปแบบคือ แบบเนื้อแน่น (compacted basalt) แบบมีรูพรุน (vesicular basalt) และแบบฟองในหิน(amygdaloidal basalt)

หินบะซอลต์มีประโยชน์ในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง และยังใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตแอสฟัลต์ (Asphalt)
เปลือกโลกมหาสมุทรส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ที่เกิดจาก การแทรกตัวขึ้นมาของหินหนืดตามรอยแยกของเปลือกโลก ทำให้เกิดการขยายตัวของพื้นมหาสมุทร (sea-floor spreading)

หิน หินอัคนี หินบะซอลต์ หินอัคนี
ภาพตัวอย่างหินบะซอลต์
ขอบคุณภาพ James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

หิน หินอัคนี หินไรโอไลต์ (Ryolite)
ภาพตัวอย่างของหินไรโอไลต์
ขอบคุณภาพ
James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินไรโอไลต์ (Rhyolite) เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) ประเภทหินเฟลสิค (felsic rock) ซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วเมื่อหินหนืดขึ้นมาอยู่บนผิวโลก มีเนื้อละเอียด ซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็กมีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีอ่อน เช่น สีขาว สีเทาขาว ชมพูซีด บางครั้งอาจจะพบแร่ควอตซ์ใส อยู่ในเนื้อหิน ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทำถนนหินโรยทางรถไฟ หินประดับสวน และทำเครื่องประดับจากหิน

หินแอนดีไซต์ (Andesite)

หิน หินอัคนี หินแอนดีไซต์ (Andesite)
ภาพตัวอย่างของหินแอนดีไซต์
ขอบคุณภาพจาก Michael C. Rygel, CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) ประเภทหินอินเตอร์มีเดียต (Intermediate rock) เป็นหินที่เนื้อแน่นทึบ เนื้อละเอียดถึงปานกลาง จากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วเมื่อหินหนืดขึ้นมาอยู่บนผิวโลก มีสีไม่เข้มไม่อ่อน เป็นไปได้หลายสีเช่น ม่วง เขียว เทาดำ แร่หลักเป็นแร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้มอย่างแอมฟิโบล (Amphibole) และไพรอกซีน (pyroxene)

ประโยชน์ของหินแอนดีไซต์ (Andesite) คือ ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องประดับ ครกหิน

หินพัมมิซ (Pumice)

หิน หินอัคนี หินพัมมิซ (Pumice)
ภาพตัวอย่างหินพัมมิซ (Pumice)
ขอบคุณภาพจาก deltalimatrieste, via Wikimedia Commons

หินพัมมิซ (Pumice) เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) อยู่ในกลุ่มแก้วภูเขาไฟ (volcanic glass) มีลักษณะผิวขรุขระ เนื้อมีรูพรุนมาก อาจมีหรือไม่มีผลึกเลยก็ได้ ส่วนมากมีสีอ่อน หินพัมมิซเป็นหินที่มีความหนาแน่นต่ำจนอาจะลอยน้ำได้ หินพัมมิซมีรูพรุนเนื้องจาก แมกมาที่ถูกพ่นออกมาในขณะที่หินหนืดมีอุณหภูมิ และความดันสูงมากๆ และฟอร์มตัวเป็นคล้ายฟองน้ำเนื่องจากเมื่อมีการลดความดันและอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้ก๊าซที่ละลายอยู่ในหินหนืดละลายได้น้อยลง จึงระเหยออกเป็นฟองอย่างรวดเร็ว (ให้นึกภาพการเปิดขวดน้ำอัดลม ที่ทำให้เกิดการลดความดัน และก๊าซมีการระเหยกลับกลายเป็นฟอง) และเกิดการแข็งตัวของหินหนืดทำให้กลายเป็นฟองอากาศในเนื้อหินพัมมิซ

ประโยชน์ของหินพัมมิซ (Pumice) ใช้เป็นหินประดับในตู้ปลา และใส่ในบ่อปลาสวยงาม ให้เป็นหินถูตัว ใช้ทำวัสดุขัดถูภาชนะเพื่อให้ภาชนะเป็นเงาวาว อาจตัดเป็นแผ่นทำเป็นฉนวนในเครื่องทำความเย็น นอกจากนี้หากนำมาผสมกับปูนจะทำให้ปูนมีน้ำหนักเบาลง

หินพัมมิซ (Pumice) จะดูคล้าย หินสคอเรีย (Scoria) แต่สามารถแยกจากสีที่หินสคอเรียจะมีสีเข้ม และไม่ลอยน้ำ

หินออบซิเดียน (Obsidian)

หิน หินอัคนี หินออบซิเดียน Obsidian
ภาพตัวอย่างหินออบซิเดียน (Obsidian)
ขอบคุณภาพจาก Ji-ElleIt feels nice and warmIt feels like a __, CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

หินออบซิเดียน (Obsidian) อยุ่ในกลุ่ม แก้วภูเขาไฟ (Volcanic glass) ที่เกิดจากการขึ้นสู่ผิวโลกของหินหนืด (Extruded lava) ที่เกิดจากเฟลสิกลาวา (Felsic Lava) ซึ่งมักเกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เนื่องจากหินหนืดที่มีซิลิกาสูงมากทำให้มีความหนืดสูง ทำให้เกิดการอัดตัวของแก๊สและกลายเป็นสาเหตุของการระเบิดที่รุนแรง เมื่อมีการดันตัวขึ้นสู่ผิวโลก ลาวาเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วจนอะตอมไม่สามารถจัดเรียงตัวเองเป็นโครงสร้างผลึกได้ ทำให้เกิดเป็น แร่อสัณฐาน (Mineraloid) ผลที่ได้คือ แก้วภูเขาไฟที่มีพื้นผิวที่เรียบสม่ำเสมอซึ่งแตกหักด้วยการแตกหักแบบก้นหอย(Conchoidal) จึงเป็นหินที่มีผลึกเล็กมากหรือแทบไม่มีผลึก ลักษณะคล้ายแก้ว หินออบซิเดียนจึงถูกเรียกว่าแกรนิตเนื้อแก้ว ลักษณะหินมักมีสีดำเนื้อหินละเอียด มีความแข็งและขอบคม ในยุคโบราณมีการนำหินออบซิเดียนมาทำเป็นใบหอก มีดและหัวลูกธนูอีกด้วย ในหินออบซิเดียนที่สัมผัสกับน้ำก็จะทำให้เกิดผลึกเส้นใยสีขาว กระจายคล้ายเกล็ดหิมะ ในประเทศไทยแทบไม่มีการพบ

หินออบซิเดียน (Obsidian) ส่วนมากพบเป็นสีดำ อย่างไรก็ตามมันยังสามารถเป็นสีน้ำตาล สีแทน สีที่เกิดขึ้น มีความเข้าใจส่วนใหญ่ว่าเกิดจากองค์ประกอบของมนทินหรือธาตุที่เกิดร่วม

หินออบซิเดียน (Obsidian) ที่มีสีรุ้งหรือเหลือบเงาของโลหะ (metallic sheen) ซึ่งเกิดจากการที่แสงสะท้อนจากมนทินของผลึกแร่ เศษมลทินหรือฟองก๊าซในเนื้อออปซิเดียน ทำให้เกิดสีและรูปแบบต่างๆ รูปแบบเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ออบซิเดียนสีรุ้ง” “ออบซิเดียนสีทอง” หรือ “ออบซิเดียนสีเงิน” ขึ้นอยู่กับสีของเงาหรือความแวววาว หินพวกนี้จึงเป็นที่สนใจในการใช้ผลิตเครื่องประดับ

ออบซิเดียน พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก มันจะเกิดในพื้นที่ที่เคยมีกิจกรรมที่เกิดจากภูเขาไฟไม่นานมาก ออบซิเดียนที่มีอายุมากกว่าสองถึงสามล้านปีนั้นหายากมาก เพราะตัวหินเป็นแก้วที่เกิดจากธรรมชาติ จึงเปราะและถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากสภาพอากาศ ความร้อนหรือกระบวนการอื่นๆ ตามธรรมชาติได้ง่าย เมื่อเวลาผ่านไป

แหล่งที่สำคัญของออบซิเดียน พบได้ในประเทศอาร์เจนตินา แคนาดา ชิลี เอกวาดอร์ กรีซ กัวเตมาลา ฮังการี ไอซ์แลนด์อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เคนยา เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู รัสเซีย สหรัฐอเมริกาและอีกหลายแห่ง

Loading

The post รายชื่อ หินอัคนี (Igneous Rock) สำคัญ appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินอัคนี (Igneous Rock) https://boongbrief.com/article/igneous-rock/ Thu, 16 Jun 2022 09:44:03 +0000 https://boongbrief.com/?p=2464 หินอัคนี (Igneous Rock) เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืด (Magma) ดังนั้นจึงถือว่าเป็นหินที่เกิดจากต้นกำเนิด และเป็น 1 ใน 3 ประเภทหินหลัก ที่อยู่ในวัฏจักรหิน มีความหลากหลายมาก และมีลักษณะเด่นขึ้นกับหลายปัจจัยในการเกิด แต่ละชนิดมีจุดเด่นแตกต่างกัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน


หินอัคนีมีความหลากหลายสูง เนื่องจากความหลากหลายของสารประกอบตามธรรมชาติ และกระบวนการเกิด นักวิทยาศาสตร์จริงพยายามจำแนกประเภท

The post หินอัคนี (Igneous Rock) appeared first on BoongBrief.com.

]]>
หินอัคนี (Igneous Rock) เกิดจากอะไร

หินอัคนี (Igneous Rock) เกิดจากการเย็นตัวของหินหนืด (Magma) ดังนั้นจึงถือว่าเป็นหินที่เกิดจากต้นกำเนิด และเป็น 1 ใน 3 ประเภทหินหลัก ที่อยู่ในวัฏจักรหิน

หินอัคนี มีความหลากหลายมาก และมีลักษณะเด่นขึ้นกับหลายปัจจัยในการเกิด แต่ละชนิดมีจุดเด่นแตกต่างกัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน

หินอัคนีมีความหลากหลายสูง เนื่องจากความหลากหลายของสารประกอบตามธรรมชาติ และกระบวนการเกิด นักวิทยาศาสตร์จริงพยายามจำแนกประเภท และจัดกลุ่มด้วย การเกิด, เนื้อผลึก, แร่, องค์ประกอบทางเคมีและลักษณะสัณฐานของรูปร่างหินอัคนี

รายชื่อหินอัคนีที่สำคัญ

การจำแนกด้วยลักษณะ หินอัคนี (Igneous Rock) และการเกิด

หากแบ่งตามกระบวนการเกิด สามารถแบ่งได้ 2 แบบเบื้องต้น คือ

หินอัคนี หินอัคนีพุ หินอัคนีแทรกซอน การเกิดหิน
การเกิด หินอัคนีพุ (Extrusive Igneous Rock) และหินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous Rock)

หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous Rock)

หินอัคนีแทรกซอน คือ หินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืดภายใต้เปลือกโลก เมื่อหินหนืดแทรกตัวขึ้นมาสู่ชั้นเปลือกโลก เมื่อถึงระดับหนึ่งที่ยังอยู่ใต้เปลือกโลก อุณหภูมิได้ลดลง และเกิดการเย็นตัวเกิดขึ้นอย่างช้าๆ ทำให้เกิดเนื้อผลึกที่มีขนาดใหญ่และเนื้อหินหยาบ แร่องค์ประกอบในหินสามารถแยกได้ด้วยตาเปล่า โดยที่ผลึกแร่ยึดเกาะกันแน่น เนื้อหินจึงแน่นและแข็ง ตัวอย่างหิน เช่น หินแกรนิต (Granite) หินไดออไรต์ (Diorite) หินแกบโบร (Gabbro)

หินอัคนีพุ (Extrusive Igneous Rock)

หินอัคนีพุ คือ หินอัคนีที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืดบนผิวโลก เมื่อหินหนืดที่มีอุณหภูมิสูงสัมผัสกับอากาศหรือน้ำบนพื้นผิวโลกทำให้มีการเย็นตัวอย่างรวดเร็วกลายเป็นหินอัคนีพุ เนื้อหินจะมีลักษณะ เนื้อผลึกเล็ก หรือไม่เกิดผลึกเลย อาจมีหรือไม่มีฟองในเนื้อหิน และเนื้อหินละเอียด สาเหตุหนึ่งที่ทำให้เกิดการดันตัวของหินหนืด คือ การเกิดภูเขาไฟปะทุ ซึ่งมีความรุนแรงแตกต่างกันตาม ประเภทของการปะทุของภูเขาไฟ ทำให้บางครั้งนักธรณีวิทยาอาจะเรียกหินอัคนีพุว่า หินภูเขาไฟ (Volcanic rock) ตัวอย่างหินอัคนีพุ เช่น หินบะซอลต์ (Basalt) หินแอนดีไซต์ (Andesite) หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

การจำแนก หินอัคนี (Igneous Rock) ตามองค์ประกอบทางเคมี และแร่

หินอัคนี ประเภทเฟลสิค (felsic rock)

หินเฟลสิค (felsic rock) หรือ หินอัคนีสีอ่อน มีความถ่วงจำเพาะที่น้อยกว่า 3 เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดกรด (acidic magma) มี silica (SiO2) ประมาณ 65-75 w% มี Fe, Mg, Ca ต่ำและ K, Na สูง ก่อนแข็งตัวเป็นพวกหินหนืดไรโอไลต์ (rhyolitic magma) หินเฟลสิก (felsic หรือ acid rock) มีสีจางเพราะมีควอตซ์ (quartz) และเฟลด์สปาร์ (feldspar) มาก
ตัวอย่างหินเฟลสิค เช่น หินแกรนิต(granite) หินไรโอไลต์(rhyolite)

* คําว่า Felsic มาจาก felspar + lenad (feldspathoid) + silica + c
* feldspathoid คือ

หินอัคนี ประเภทอินเตอร์มีเดียต (Intermediate rock)

หินอินเตอร์มีเดียต (Intermediate rock) มีสีไม่เข้มและไม่จาง เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดปานกลาง (intermediate magma) มี silica (SiO2) ประมาณ 55-65 w% มี Fe, Mg, Ca, K, Na ในปริมาณปานกลาง ก่อนแข็งตัวเป็นพวกหินหนืดแอนดีไซต์ (andesitic magma) หินอินเตอร์มีเดียต (Intermediate rock) มีส่วนประกอบอยู่ ระหว่างหินเฟลสิคกับหินเมฟิก มีควอตซ์เล็กน้อยหรือไม่มีเลย (0-10%) แร่ที่มีมากคือ แพลจิโอเคลส และแร่สีเข้มอย่างแอมฟิโบล และไพรอกซีน (pyroxene) ที่อาจมีถึง 50%
ตัวอย่างหินอินเตอร์มีเดียต เช่น หินไดโอไรต์(diorite) หินแอนดีไซต์(andesite)

หินอัคนี ประเภทเมฟิก (Mafic rock)

หินเมฟิก (Mafic rock หรือ basic rock) มีสีค่อนข้างคล้ำ เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดด่าง (basic magma) มี silica (SiO2) ประมาณ 45-55 w% มี Fe, Mg, Ca สูงและ K, Na ในปริมาณต่ำ ก่อนแข็งตัวเป็นพวกหินหนืดบะซอลต์ (basaltic magma) มีส่วนประกอบโดยประมาณดังนี้ แพลจิโอเคลส 45-70% และแร่ไพรอกซีน(pyroxene) 25-50%
ตัวอย่างหินเมฟิก เช่น หินแกบโบร(gabbro) หินบะซอลต์(basalt)

*คําว่า mafic มาจากแมกนีเซียม (magnesium) + เฟอร์ริก (ferric)

หินอัคนี ประเภทอัลตราเมฟิก (Ultramafic rock)

หินอัลตราเมฟิก (Ultramafic rock หรือ ultrabasic rock) ปกติมักมีสีเขียวหรือดำ เป็นหินที่เกิดจากหินหนืดด่างจัด (ultrabasic magma) มี silica (SiO2) น้อยกว่า 45% มี Fe, Mg, Ca ในปริมาณสูงมาก และ K, Na ในปริมาณต่ำมาก ก่อนแข็งตัวเป็นพวกหินหนืดโคมาทิไอต์ (komatiite magma) หินอัลตราเมฟิกประกอบด้วยแร่ไพรอกซีน (pyroxene) และโอลิวีน (olivine) เป็นส่วนใหญ่
ตัวอย่างหินอัลตราเมฟิก เช่น หินโคมาทิไอต์(komatiite) หิน เพอริโดไทต์ (peridotite)

แผนภาพการจำแนกหินอัคนีตามองค์ประกอบทางเคมี เนื้อผลึก แร่และการเกิดหิน พร้อมภาพถ่ายเนื้อหิน

แผนภาพ ประเภท หินอัคนี
แผนภาพการจำแนกหินอัคนีตามองค์ประกอบทางเคมี เนื้อผลึก แร่และการเกิดหิน
ขอบคุณรูปภาพจาก Woudloper, via Wikimedia Commons

แผนภาพอธิบายการตกผลึกของแร่ในหินหนืด ด้วยชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series)

แผนภาพ ชุดปฏิกิริยาของโบเวน Bowen's reaction series โบเวน โบเวนซีรีส์ โบเวนซีรีย์
แผนภาพชุดปฏิกิริยาของโบเวน (Bowen’s reaction series)
Ref. Understanding Earth 7th Edition, John P. Grotzinger และ John P. Grotzinger

Tips

IUGS classification คือการจําแนกหินอัคนีของ International Union of Geological Sciences ซึ่งแบ่งเป็น 3 กรณี คือ
(1) หากสามารถประมาณสัดส่วนของแร่ประกอบหิน 5 กลุ่ม คือ ควอรตซ์ (quartz) อัลคาไล เฟลด์สปาร์ (alkali feldspars) แพลจิโอเคลส (plagioclase) เฟลด์สปาร์ธอยด์ (feldspathoids) และแร่สีเข้ม (mafites) ได้ และแร่สีเข้มมีปริมาณน้อยกว่าร้อยละ 90 ให้ใช้แผนภาพ QAPF ในการจําแนก
(2) คล้ายกับกรณีแรก แต่แร่สีเข้มมีปริมาณตั้งแต่ ร้อยละ 90 ขึ้นไปให้ใช้ แผนภาพหินอัลทราเมฟิก (ultramafic rock) ในการจําแนก
(3) หินอัคนีภูเขาไฟ ที่ไม่สามารถประมาณปริมาณแร่ประกอบหินได้ จําเป็นต้องอาศัยการวิเคราะห์ธาตุประกอบหลักทางเคมี ให้ใช้แผนภาพ TAS ในการจําแนก
Ref. หนังสืออภิธานศัพท์ธรณีวิทยา โดย กรมทรัพยากรธรณี และสมาคมธรณีวิทยาแห่งประเทศไทย

Loading

The post หินอัคนี (Igneous Rock) appeared first on BoongBrief.com.

]]>
วัฎจักรหิน (Rock Cycle) และประเภทของหิน https://boongbrief.com/article/rock-cycle-and-type-of-rock/ Sat, 07 May 2022 10:30:25 +0000 https://boongbrief.com/?p=1931 วัฏจักรหิน (rock cycle) เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่หินเ […]

The post วัฎจักรหิน (Rock Cycle) และประเภทของหิน appeared first on BoongBrief.com.

]]>
วัฏจักรหิน (rock cycle) เป็นกระบวนการทางธรรมชาติที่หินเปลี่ยนรูปแบบหนึ่งไปเป็นอีกรูปแบบหนึ่ง การเปลี่ยนแปลงหลายอย่างที่เกิดขึ้นเกิดในอัตราที่ช้ามาก วัฏจักรหินเป็นแบบจำลองที่นักธรณีวิทยาพัฒนาขึ้นเพื่ออธิบายความสัมพันธ์ระหว่าง หินที่แบ่งออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ หินตะกอน (Sedimentary rock) หินอัคนี (Igneous rock) และหินแปร (Metamorphic rock) หินเหล่านี้เกิดจากการเปลี่ยนแปลงทางกายภาพ และทางเคมีตามธรรมชาติ เช่น การหลอมเหลว การเย็นตัว การกัดเซาะ กัดกร่อน การอัดตัว

วัฏจักรหินเป็นกระบวนการที่เกิดการเปลี่ยนแปลงหลายๆ อย่างขึ้นพร้อมกัน หินอัคนีสามารถเปลี่ยนเป็นหินตะกอนหรือหินแปรได้ หินตะกอนสามารถเปลี่ยนเป็นหินแปรหรือหินอัคนี หินแปรสามารถเปลี่ยนเป็นหินอัคนีหรือหินตะกอนได้ อาจมีการเปลี่ยนแปลงจากหินชนิดหนึ่งไปเป็นหินอีกชนิดหนึ่ง หรืออาจกลับไปเป็นหินชนิดเดิมก็ได้ ขึ้นกับปัจจัยทำให้หินเกิดการเปลี่ยนแปลงเป็นหลัก

แผนภาพวัฎจักรหิน (Rock Cycle) 1

วัฎจักรหิน Rock Cycle หินตะกอน หินอัคนี หินแปร
แผนภาพวัฎจักรหิน (Rock Cycle)
Pebbles vector created by brgfx – www.freepik.com

แผนภาพวัฎจักรหิน (Rock Cycle) 2

หิน คือ ของแข็งที่ประกอบด้วยแร่หลายชนิดรวมตัวกันอยู่ตามธรรมชาติ มักไม่ได้บริสุทธิ์เหมือนกับแร่ สามารถแบ่งได้ เป็น 3 ชนิดหลัก คือ

  1. หินอัคนี (Igneous Rocks)
  2. หินตะกอน (Sedimentary Rocks)
  3. หินแปร (Metamorphic Rocks)

หินอัคนี (Igneous Rocks)

หินอัคนี เป็นหินที่เกิดจากการเย็นตัวและแข็งตัวของหินหนืด (magma) หรือหินหลอมเหลว (lava) หินอัคนีสามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักได้แก่

หิน อัคนี
ภาพการเกิดหินอัคนี 2 รูปแบบ

หินอัคนีพุ (Extrusive Igneous rock)

หินอัคนีพุ เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วของหินหนืดที่ดันตัวพุออกมานอกผิวโลกเป็นลาวา (Lava) ทำให้มีเนื้อผลึกขนาดเล็ก และมีเนื้อหินที่ละเอียด

หินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Igneous rock)

หินอัคนีแทรกซอน เกิดจากการเย็นตัวลงอย่างช้า ๆ ของหินหนืดใต้เปลือกโลก ทำให้มีเนื้อผลึกขนาดใหญ่ และมีเนื้อหินที่หยาบกว่าหินอัคนีพุ

อ่านเรื่องหินอัคนีต่อได้ที่นี่

หิน อัคนี แกรนิต granite
ตัวอย่างหินอัคนี – หินแกรนิต (granite)

หินตะกอน (Sedimentary Rocks)

หินตะกอน เกิดจากการสะสมตัวของตะกอนต่างๆ ที่ถูกพัดพาไปโดย ลม น้ำ หรือธารน้ำแข็ง และทับถมกันมากขึ้นเมื่อเวลาผ่านไป จนจับตัวกันแข็งเป็นหิน ตัวอย่างของวัสดุที่สะสมตัวกัน เช่น แร่ ทราย เศษหิน กรวด ดินที่ผุพังหรือสึกกร่อน หินตะกอน สามารถแบ่งประเภทได้หลายแบบ

หิน ตะกอน หิน ทราย Sand stone
ภาพตัวอย่างของหินตะกอน

อ่านต่อเรื่องหินตะกอนได้ที่นี่

หินแปร (Metamorphic Rocks)

หินแปร คือ หินที่เกิดจากการการแปรสภาพ (Metamorphism) จากความร้อน ความดันและปฏิกิริยาทางเคมี ในสภาพที่ยังเป็นของแข็ง ทำให้โครงสร้างเปลี่ยนไปจากเดิม

หิน แปร ไนซ์ Gneiss
ภาพตัวอย่างหินแปร – หินไนซ์ (Gneiss)

Loading

The post วัฎจักรหิน (Rock Cycle) และประเภทของหิน appeared first on BoongBrief.com.

]]>