รายชื่อ หินตะกอน (Sedimentary Rock) ที่สำคัญเอาไว้ ข้อมูลเรื่องหินตะกอนอ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่
หินตะกอนอนุภาค (Clastic rocks)
หินกรวดมน (Conglomerate)
เป็นหินเนื้อหยาบเกิดจากตะกอนซึ่งเป็นหิน กรวด ทราย ที่ถูกกระแสน้ำพัดพามาอยู่รวมกันแล้วแข็งตัว สารละลายในน้ำใต้ดินทำตัวเป็นซิเมนต์ประสานให้อนุภาคใหญ่เล็กเหล่านี้ เกาะตัวกันเป็นก้อนหิน
หินกรวดเหลี่ยม (Breccia)
เนื้อหยาบ เม็ดตะกอนมีขนาดใหญ่กว่า 2 มม. ประกอบด้วยกรวดที่มีลักษณะเหลี่ยม อุตสาหกรรมก่อสร้าง หินประดับและการแกะสลัก
หินทราย (Sandstone)
เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดปานกลาง เกิดจากการทับถมตัวของทรายเป็นระยะเวลานาน มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอรตซ์ คนโบราณใช้หินทรายแกะสลัก สร้างปราสาท และทำหินลับมีด
หินทรายแป้ง (Siltstone)
หินทรายแป้ง (Siltstone) เป็นหินตะกอนเนื้อเศษหิน มีเนื้อละเอียด เกิดจากการทับถมตัวของทราย มีองค์ประกอบหลักเป็นแร่ควอรตซ์ เม็ดตะกอนมีขนาดระหว่าง 0.003-0.062 มม. บางครั้งหินทรายแป้งก็อาจถูกจัดกลุ่มรวมหรือ อธิบายไว้ในหินดาน เนื่องจากตะกอนทรายแป้งไม่ปรากฏเด่นชัดเมื่อเกิดร่วมกับหินดินดาน มีประโยชน์ใช้ทำหินลับมีด ใช้เป็นหินประดับ
หินโคลน (Mudstone)
เนื้อละเอียดมาก เม็ดตะกอนมีขนาดเล็กกว่า 0.003 มม. ประกอบด้วยดินเหนียว และทรายแป้ง ไม่มีแนวแตกถี่ ปูนซีเมนต์ เซรามิก
หินดินดาน (Shale)
เป็นหินตะกอนเนื้อละเอียดมาก เนื่องจากประกอบด้วยอนุภาคทรายแป้งและอนุภาคดินเหนียวทับถมกันเป็นชั้นบาง ๆ ขนานกัน เมื่อทุบหินจะแตกตัวตามรอยชั้น (ฟอสซิลมีอยู่ในหินดินดาน) ดินเหนียวที่เกิดดินดานใช้ทำเครื่องปั้นดินเผา
หินตะกอนเคมี (Chemical sedimentary rocks)
หินปูน (Limestone)
เป็นหินตะกอนคาร์บอเนต เกิดจากการทับถมของตะกอนคาร์บอเนตในท้องทะเล ทั้งจากสารอนินทรีย์ และซากสิ่งมีชีวิต เช่น ปะการัง และกระดองของสัตว์ทะเล ซึ่งถับถมกันภายใต้ความกดดันและตกผลึกใหม่เป็นแร่แคลไซต์จึงทำปฏิกิริยากับกรด หินปูนใช้ทำเป็นปูนซิเมนต์ และใช้ในการก่อสร้าง
หินเชิร์ต (Chert)
หินตะกอนเนื้อแน่นแข็ง เกิดจากการตกผลึกใหม่ เนื่องจากน้ำพาสารละลายซิลิกาเข้าไปแล้วระเหยออก ทำให้เกิดผลึกซิลิกาแทนที่เนื้อหินเดิม หินเชิร์ตมักเกิดขึ้นใต้ท้องทะเล เนื่องจากแพลงตอนที่มีเปลือกเป็นซิลิกาตายลง เปลือกของมันจะจมลงทับถมกัน หินเชิร์ตจึงปะปนอยู่ในหินปูน
หินตะกอนอินทรีย์ (Organic sedimentary rocks)
ถ่านหิน (Coal)
เกิดจากการทับถมของซากพืชที่ยังไม่เน่าเปื่อยไปหมดเนื่องจากสภาวะออกซิเจนต่ำ สภาวะเช่นนี้เกิดตามห้วยหนองคลองบึง ในแถบภูมิอากาศแบบเส้นศูนย์สูตร การทับถมทำให้เกิดการแรงกดดันที่จะระเหยขับไล่น้ำและสารละลายอื่น ๆ ออกไป ยิ่งมีปริมาณคาร์บอนมากขึ้นถ่านหินจะยิ่งมีสีดำ เริ่มจาก พีต เป็นถ่านหินคุณภาพต่ำ ลิกไนต์ (Lignite) เป็นถ่านหินคุณภาพปานกลาง มีมากที่เหมืองแม่เมาะ จ. ลำปาง บิทูมินัส เป็นถ่านหินมีคุณภาพดีกว่าลิกไนต์ แอนทราไซต์ (Anthracite) (จัดอยู่ในกลุ่มหินแปร) เป็นถ่านหินคุณภาพสูง ต้องนำเข้าจากต่างประเทศ นอกจากนี้ยังมี ซับบิทูมินัส เป็นถ่านหินที่มีคุณภาพอยู่ระหว่างลิกไนต์กับบิทูมินัส ซึ่งพบได้ในประเทศไทยเท่านั้น