ผลกระทบจากแผ่นดินไหว

ผลกระทบจาก แผ่นดินไหว มีมากมาย ส่วนมากมักเป็นความเสียหาย ซึ่งสามารถเกิดได้ทั้งความเสียทางทั้งทางชีวิตและทรัพย์สิน ความเสียหายอาจจะมีได้อีกหลายอย่าง การเกิดแผ่นดินไหวมีสาเหตุได้หลายอย่าง เช่น การปลดปล่อยความเครียดสะสมของแผ่นธรณี การเคลื่อนตัวของแผ่นธรณี หรือการเกิดภูเขาไฟระเบิด

แผ่นดินไหว ทำให้เกิดการสั่นและแผ่นดินแยก (Shaking and ground rupture)

การสั่น และแผ่นดินแยก เป็นผลกระทบหลักที่เกิดจากแผ่นดินไหว ทำให้อาคารและโครงสร้างแข็งอื่นๆ ได้รับความเสียหายไม่มากก็น้อย ความรุนแรงของผลกระทบในพื้นที่ขึ้นอยู่กับ ขนาดแผ่นดินไหว ระยะห่างจากจุดเหนือศูนย์เกิดแผ่นดินไหว(epicenter) และธรณีสัณฐานของพื้นที่นั้นๆ ซึ่งอาจขยายหรือลดการกระจายตัวของคลื่นแผ่นดินไหวก็ได้ การสั่นของแผ่นดินวัดจากความเร่งของพื้นดิน

ลักษณะทางธรณีวิทยา และธรณีสัณฐานเฉพาะในพื้นที่นั้นๆ สามารถทำให้เกิดการสั่นสะเทือนบนผิวดินในระดับสูงได้ แม้กระทั่งจากแผ่นดินไหวที่ไม่รุนแรง เรียกว่า การเพิ่มความรุนแรงของแผ่นดินไหวเนื่องมาจากสภาพดิน (site amplification) สาเหตุหลักมาจากการถ่ายโอนการเคลื่อนที่ของคลื่นไหวสะเทือน จากแผ่นดินชั้นลึกที่แข็งไปยังดินชั้นบนที่อ่อนนุ่มทำให้เกิดปรากฏการณ์นี้

แผ่นดินแยก ผลกระทบ แผ่นดินไหว ground rupture earthquake
ภาพแผ่นดินแยก (ground rupture) จากแผ่นดินไหวขนาด 6.4 ในมาตราโมเมนต์ เมื่อวันที่ 4 ก.ค. 2019 ที่แคลิฟอเนีย
Thanks Ben Brooks and Todd Ericksen, United States Geological Survey, Public domain, via Wikimedia Commons

การแยกตัวของพื้นดิน เป็นการแตกและการเคลื่อนตัวของพื้นผิวโลกที่มองเห็นได้ตามแนวรอยเลื่อน ซึ่งอาจยาวหลายเมตรในกรณีที่เกิดแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ การแตกของพื้นดินเป็นความเสี่ยงต่อโครงสร้างขนาดใหญ่ เช่น เขื่อน สะพาน อาคารสูง และโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ จึงจำเป็นต้องมีการทำแผนที่ของรอยเลื่อนอย่างระมัดระวัง เพื่อลดความเสี่ยงในการเกิดความเสียหายต่อโครงสร้างขนาดใหญ่เมื่อเกิดแผ่นดินไหว

การแปรสภาพดินเป็นของไหล (soil liquefaction)

การแปรสภาพดินเป็นของไหล soil liquefaction ผลกระทบ แผ่นดินไหว earthquake
ภาพการแปรสภาพดินเป็นของไหล เมื่อ ปี 1964 ในเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่นีงาตะ (Niigata Earthquake, 1964)
Thanks The original uploader was Ungtss at English Wikipedia., Public domain, via Wikimedia Commons

การแปรสภาพดินเป็นของไหลเกิดขึ้นเนื่องจากการเขย่า วัสดุที่เป็นเม็ดเล็กๆ ที่อิ่มตัวด้วยน้ำ (เช่น ทราย) ทำให้สูญเสียความแข็งแรงชั่วคราวและเปลี่ยนจากของแข็งเป็นสภาพคล้ายของเหลว การแปรสภาพดินเป็นของไหลอาจทำให้โครงสร้างแข็ง เช่น อาคารและสะพาน เอียงหรือจมลงในตะกอนที่เป็นของเหลวลงได้ ตัวอย่างเช่น ในแผ่นดินไหวที่อะลาสกาปี 1964 ดินการแปรสภาพเป็นของไหลทำให้อาคารหลายหลังจมลงสู่พื้นดิน และพังถล่มทับตัวเองในที่สุด

ผลกระทบของแผ่นดินไหวต่อมนุษย์

แผ่นดินไหว อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บและเสียชีวิต ความเสียหายของถนนและสะพาน ความเสียหายต่อทรัพย์สินทั่วไป และการพังทลายหรือความไม่มั่นคงของอาคารที่อาจนำไปสู่การพังทลายในอนาคต ผลที่ตามมาอาจนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บ การขาดสิ่งจำเป็นพื้นฐาน ผลทางจิตใจ เช่น อาการตื่นตระหนก อาการซึมเศร้าต่อผู้รอดชีวิต และค่าเบี้ยประกันที่สูงขึ้นเนื่องจากความเสี่ยงของพื้นที่

ดินถล่ม (landslides) จาก แผ่นดินไหว

ดินถล่ม landslides ผลกระทบ แผ่นดินไหว earthquake
ภาพดินถล่มชายฝั่งของดินถล่มที่เกิดจากแผ่นดินไหวบนชายฝั่งทางใต้ของเฮติ ในปี 2010
Thanks U.S. Geological Survey, CC0, via Wikimedia Commons

แผ่นดินไหว สามารถทำให้เกิดความไม่เสถียรของที่ลาดชันที่ทำให้เกิดแผ่นดินถล่ม ซึ่งเป็นอันตรายทางธรณีวิทยาที่สำคัญ ความอันตรายจากดินถล่มอาจเกิดซ้ำขึ้นได้อีกในขณะที่เจ้าหน้าที่ฉุกเฉินกำลังพยายามช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ไฟไหม้จาก แผ่นดินไหว

แผ่นดินไหวสามารถทำให้เกิดไฟไหม้จากการทำให้ท่อก๊าซเสียหาย หรือสายไฟฟ้าลัดวงจร ในกรณีที่ท่อประปาแตกและสูญเสียแรงดัน การหยุดการลุกลามของเหตุไฟไหม้จะเป็นเรื่องที่ยากลำบากขึ้น ตัวอย่างเช่น การเสียชีวิตในแผ่นดินไหวที่ซานฟรานซิสโกในปี 1906 เกิดจากไฟไหม้มากกว่าตัวเหตุการณ์แผ่นดินไหวเอง

สึนามิ (tsunami)

สึนามิ tsunami ผลกระทบ แผ่นดินไหว earthquake
ภาพเหตุกาณ์สินามิขึ้นฝั่งที่ อ่าวนาง จังหวัดกระบี่ในปี 2004 (พ.ศ. 2547)
Thanks David Rydevik (email: david.rydevikgmail.com), Stockholm, Sweden., Public domain, via Wikimedia Commons

สึนามิ เป็นคลื่นทะเลที่มีความยาวคลื่นยาวที่เกิดจากการเคลื่อนที่ของน้ำปริมาณมากอย่างกะทันหัน รวมถึงเมื่อเกิดแผ่นดินไหวในทะเล ในมหาสมุทรเปิด ระยะห่างระหว่างยอดคลื่นอาจมากกว่า 100 กิโลเมตร และคาบคลื่นอาจแตกต่างกันตั้งแต่ห้านาทีถึงหนึ่งชั่วโมง คลื่นสึนามิ เดินทางได้ 600–800 กิโลเมตรต่อชั่วโมง ขึ้นอยู่กับความลึกของน้ำ แผ่นดินไหวหรือดินถล่มใต้น้ำสามารถทำให้เกิดคลื่นขนาดใหญ่เคลื่อนเข้าหาชายฝั่งที่อยู่ใกล้ๆ ได้ในเวลาไม่กี่นาที คลื่นสึนามิยังสามารถเดินทางข้ามมหาสมุทรเปิดได้หลายพันกิโลเมตร และทำลายล้างพื้นที่ชายฝั่งที่ห่างไกลออกไปหลายชั่วโมงหลังจากเกิดแผ่นดินไหวที่ก่อตัวขึ้นได้อีกด้วย

โดยปกติ แผ่นดินไหวแบบมุดตัวที่ระดับ 7.5 จะไม่ทำให้เกิดสึนามิ แม้ว่าจะมีการบันทึกเหตุการณ์นี้ไว้บ้างแล้วก็ตาม คลื่นสึนามิที่ทำลายล้างส่วนใหญ่เกิดจากแผ่นดินไหวขนาด 7.5 ขึ้นไป

น้ำท่วม (floods)

น้ำท่วมอาจเป็นผลกระทบรองจากแผ่นดินไหว ซึ่งอาจจะเกิดขึ้นหากเขื่อนเก็บน้ำได้รับความเสียหาย แผ่นดินไหวอาจทำให้เกิดแผ่นดินถล่มใส่ฝายกั้นน้ำทำให้เกิดความเสียหายและทำให้เกิดน้ำท่วมขึ้นได้

Loading