รายชื่อ หินอัคนี (Igneous Rock) สำคัญ

หินอัคนี (Igneous Rock) มีความหลากหลายมาก และมีลักษณะเด่นขึ้นกับหลายปัจจัยในการเกิด แต่ละชนิดมีจุดเด่นแตกต่างกัน และสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้แตกต่างกัน ด้านล่างคือรายการของหินอัคนีหลักๆ ทั้งหมด หินอัคนีเป็นหนึ่งใน วัฎจักรหิน (Rock Cycle) อ่านต่อได้ที่นี่

หินแกรนิต (Granite)

หิน หินอัคนี หินแกรนิต ธรณีวิทยา
ภาพตัวอย่างหินแกรนิต
ขอบคุณภาพ James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินแกรนิต(Granite) เป็นหินอัคนีแทรกซอน (Intrusive Rock) อยู่ในกลุ่ม หินเฟลสิค (felsic rock) มีสีจางพบได้ทั่วไปเป็นปกติ หินแกรนิตมีเนื้อขนาดปานกลางถึงเนื้อหยาบ บางครั้งจะพบผลึกเดี่ยวๆบางชนิดที่มีขนาดใหญ่กว่าปกติ (groundmass) เป็นหินอัคนีแทรกซอนที่เย็นตัวลงภายในเปลือกโลกอย่างช้าๆ จึงมีเนื้อหยาบซึ่งประกอบด้วยผลึกขนาดใหญ่ของแร่ควอรตซ์สีเทาใส แร่เฟลด์สปาร์สีขาวขุ่น และแร่ฮอร์นเบลนด์ หินแกรนิตมีเนื้อแน่นเสมอ แข็ง แรงทนทาน ดังนั้นจึงถูกนำไปใช้ในงานก่อสร้าง หรือเป็นวัสดุปิดผิวที่ทนทานกันอย่างแพร่หลาย

ตัวอย่างการใช้ประโยชน์จากหินแกรนิต ในการใช้ในการประดับตกแต่ง อาคาร สิ่งปลูกสร้าง นิยมทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ ในลักษณะที่ต้องการความงดงาม หรูหราให้แก่ที่อาคาร สิ่งปลูกสร้าง ไม่ว่าจะนำมาปูพื้นอาคาร, ผนัง, ขั้นบันได, เคาน์เตอร์ครัว, เคาน์เตอร์ห้องน้ำ เป็นต้น และด้วยสมบัติของหินแกรนิตที่มีความแข็งแรงมาก ชาวบ้านจึงใช้ทำครกหิน เช่น ครกอ่างศิลา

หินบะซอลต์ (Basalt)

หินบะซอลต์ (Basalt) เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) ประเภทหินเมฟิก (Mafic rock) มีเนื้อละเอียดเพราะเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วบนผิวโลก มีสีเข้มเนื่องจากประกอบด้วยแร่ไพร็อกซีน และแร่เฟลด์สปาร์ เป็นส่วนใหญ่ อาจมีแร่โอลิวีนปนมาด้วย ลักษณะเนื้อของหินบะซอลต์ มี 3 รูปแบบคือ แบบเนื้อแน่น (compacted basalt) แบบมีรูพรุน (vesicular basalt) และแบบฟองในหิน(amygdaloidal basalt)

หินบะซอลต์มีประโยชน์ในการใช้เป็นวัสดุก่อสร้างถนน เทพื้นรองหมอนและรางรถไฟ และทำเป็นแผ่นปูพื้นหรือผนัง และยังใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญในการผลิตแอสฟัลต์ (Asphalt)
เปลือกโลกมหาสมุทรส่วนใหญ่ประกอบไปด้วยหินบะซอลต์ที่เกิดจาก การแทรกตัวขึ้นมาของหินหนืดตามรอยแยกของเปลือกโลก ทำให้เกิดการขยายตัวของพื้นมหาสมุทร (sea-floor spreading)

หิน หินอัคนี หินบะซอลต์ หินอัคนี
ภาพตัวอย่างหินบะซอลต์
ขอบคุณภาพ James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินไรโอไลต์ (Rhyolite)

หิน หินอัคนี หินไรโอไลต์ (Ryolite)
ภาพตัวอย่างของหินไรโอไลต์
ขอบคุณภาพ
James St. John, CC BY 2.0, via Wikimedia Commons

หินไรโอไลต์ (Rhyolite) เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) ประเภทหินเฟลสิค (felsic rock) ซึ่งเกิดจากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วเมื่อหินหนืดขึ้นมาอยู่บนผิวโลก มีเนื้อละเอียด ซึ่งประกอบด้วยผลึกแร่ขนาดเล็กมีแร่องค์ประกอบเหมือนกับหินแกรนิต แต่ทว่าผลึกเล็กมากจนไม่สามารถมองเห็นได้ ส่วนมากมีสีอ่อน เช่น สีขาว สีเทาขาว ชมพูซีด บางครั้งอาจจะพบแร่ควอตซ์ใส อยู่ในเนื้อหิน ใช้ประโยชน์ในการก่อสร้าง ทำถนนหินโรยทางรถไฟ หินประดับสวน และทำเครื่องประดับจากหิน

หินแอนดีไซต์ (Andesite)

หิน หินอัคนี หินแอนดีไซต์ (Andesite)
ภาพตัวอย่างของหินแอนดีไซต์
ขอบคุณภาพจาก Michael C. Rygel, CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

หินแอนดีไซต์ (Andesite) เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) ประเภทหินอินเตอร์มีเดียต (Intermediate rock) เป็นหินที่เนื้อแน่นทึบ เนื้อละเอียดถึงปานกลาง จากการเย็นตัวของลาวาอย่างรวดเร็วเมื่อหินหนืดขึ้นมาอยู่บนผิวโลก มีสีไม่เข้มไม่อ่อน เป็นไปได้หลายสีเช่น ม่วง เขียว เทาดำ แร่หลักเป็นแร่แพลจิโอเคลสเฟลด์สปาร์ และแร่สีเข้มอย่างแอมฟิโบล (Amphibole) และไพรอกซีน (pyroxene)

ประโยชน์ของหินแอนดีไซต์ (Andesite) คือ ใช้ในการก่อสร้าง เครื่องประดับ ครกหิน

หินพัมมิซ (Pumice)

หิน หินอัคนี หินพัมมิซ (Pumice)
ภาพตัวอย่างหินพัมมิซ (Pumice)
ขอบคุณภาพจาก deltalimatrieste, via Wikimedia Commons

หินพัมมิซ (Pumice) เป็นหินอัคนีพุ (Extrusive Rock) อยู่ในกลุ่มแก้วภูเขาไฟ (volcanic glass) มีลักษณะผิวขรุขระ เนื้อมีรูพรุนมาก อาจมีหรือไม่มีผลึกเลยก็ได้ ส่วนมากมีสีอ่อน หินพัมมิซเป็นหินที่มีความหนาแน่นต่ำจนอาจะลอยน้ำได้ หินพัมมิซมีรูพรุนเนื้องจาก แมกมาที่ถูกพ่นออกมาในขณะที่หินหนืดมีอุณหภูมิ และความดันสูงมากๆ และฟอร์มตัวเป็นคล้ายฟองน้ำเนื่องจากเมื่อมีการลดความดันและอุณหภูมิอย่างรวดเร็ว ทำให้ก๊าซที่ละลายอยู่ในหินหนืดละลายได้น้อยลง จึงระเหยออกเป็นฟองอย่างรวดเร็ว (ให้นึกภาพการเปิดขวดน้ำอัดลม ที่ทำให้เกิดการลดความดัน และก๊าซมีการระเหยกลับกลายเป็นฟอง) และเกิดการแข็งตัวของหินหนืดทำให้กลายเป็นฟองอากาศในเนื้อหินพัมมิซ

ประโยชน์ของหินพัมมิซ (Pumice) ใช้เป็นหินประดับในตู้ปลา และใส่ในบ่อปลาสวยงาม ให้เป็นหินถูตัว ใช้ทำวัสดุขัดถูภาชนะเพื่อให้ภาชนะเป็นเงาวาว อาจตัดเป็นแผ่นทำเป็นฉนวนในเครื่องทำความเย็น นอกจากนี้หากนำมาผสมกับปูนจะทำให้ปูนมีน้ำหนักเบาลง

หินพัมมิซ (Pumice) จะดูคล้าย หินสคอเรีย (Scoria) แต่สามารถแยกจากสีที่หินสคอเรียจะมีสีเข้ม และไม่ลอยน้ำ

หินออบซิเดียน (Obsidian)

หิน หินอัคนี หินออบซิเดียน Obsidian
ภาพตัวอย่างหินออบซิเดียน (Obsidian)
ขอบคุณภาพจาก Ji-ElleIt feels nice and warmIt feels like a __, CC BY-SA 3.0, via Wikimedia Commons

หินออบซิเดียน (Obsidian) อยุ่ในกลุ่ม แก้วภูเขาไฟ (Volcanic glass) ที่เกิดจากการขึ้นสู่ผิวโลกของหินหนืด (Extruded lava) ที่เกิดจากเฟลสิกลาวา (Felsic Lava) ซึ่งมักเกิดจากการระเบิดอย่างรุนแรงของภูเขาไฟ เนื่องจากหินหนืดที่มีซิลิกาสูงมากทำให้มีความหนืดสูง ทำให้เกิดการอัดตัวของแก๊สและกลายเป็นสาเหตุของการระเบิดที่รุนแรง เมื่อมีการดันตัวขึ้นสู่ผิวโลก ลาวาเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วจนอะตอมไม่สามารถจัดเรียงตัวเองเป็นโครงสร้างผลึกได้ ทำให้เกิดเป็น แร่อสัณฐาน (Mineraloid) ผลที่ได้คือ แก้วภูเขาไฟที่มีพื้นผิวที่เรียบสม่ำเสมอซึ่งแตกหักด้วยการแตกหักแบบก้นหอย(Conchoidal) จึงเป็นหินที่มีผลึกเล็กมากหรือแทบไม่มีผลึก ลักษณะคล้ายแก้ว หินออบซิเดียนจึงถูกเรียกว่าแกรนิตเนื้อแก้ว ลักษณะหินมักมีสีดำเนื้อหินละเอียด มีความแข็งและขอบคม ในยุคโบราณมีการนำหินออบซิเดียนมาทำเป็นใบหอก มีดและหัวลูกธนูอีกด้วย ในหินออบซิเดียนที่สัมผัสกับน้ำก็จะทำให้เกิดผลึกเส้นใยสีขาว กระจายคล้ายเกล็ดหิมะ ในประเทศไทยแทบไม่มีการพบ

หินออบซิเดียน (Obsidian) ส่วนมากพบเป็นสีดำ อย่างไรก็ตามมันยังสามารถเป็นสีน้ำตาล สีแทน สีที่เกิดขึ้น มีความเข้าใจส่วนใหญ่ว่าเกิดจากองค์ประกอบของมนทินหรือธาตุที่เกิดร่วม

หินออบซิเดียน (Obsidian) ที่มีสีรุ้งหรือเหลือบเงาของโลหะ (metallic sheen) ซึ่งเกิดจากการที่แสงสะท้อนจากมนทินของผลึกแร่ เศษมลทินหรือฟองก๊าซในเนื้อออปซิเดียน ทำให้เกิดสีและรูปแบบต่างๆ รูปแบบเหล่านี้เป็นที่รู้จักกันในชื่อ “ออบซิเดียนสีรุ้ง” “ออบซิเดียนสีทอง” หรือ “ออบซิเดียนสีเงิน” ขึ้นอยู่กับสีของเงาหรือความแวววาว หินพวกนี้จึงเป็นที่สนใจในการใช้ผลิตเครื่องประดับ

ออบซิเดียน พบได้ในหลายพื้นที่ทั่วโลก มันจะเกิดในพื้นที่ที่เคยมีกิจกรรมที่เกิดจากภูเขาไฟไม่นานมาก ออบซิเดียนที่มีอายุมากกว่าสองถึงสามล้านปีนั้นหายากมาก เพราะตัวหินเป็นแก้วที่เกิดจากธรรมชาติ จึงเปราะและถูกทำลาย หรือเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วจากสภาพอากาศ ความร้อนหรือกระบวนการอื่นๆ ตามธรรมชาติได้ง่าย เมื่อเวลาผ่านไป

แหล่งที่สำคัญของออบซิเดียน พบได้ในประเทศอาร์เจนตินา แคนาดา ชิลี เอกวาดอร์ กรีซ กัวเตมาลา ฮังการี ไอซ์แลนด์อินโดนีเซีย อิตาลี ญี่ปุ่น เคนยา เม็กซิโก นิวซีแลนด์ เปรู รัสเซีย สหรัฐอเมริกาและอีกหลายแห่ง

Loading